การพาลูกเข้าอนุบาลที่ญี่ปุ่น ภาค 2 : เอกสาร และของใช้ในโรงเรียน
สวัสดีค่ะ บทความนี้เป็นบทความต่อจาก "การพาลูกเข้าอนุบาลที่ญี่ปุ่น จากประสบการณ์จริง" เขียนขึ้นจากประสบการณ์ที่แม่บ้านได้สัมผัสด้วยตนเอง ญี่ปุ่นมีการกระจายอำนาจทำให้มีการบริหารจัดการของแต่ละจังหวัดหรืออำเภอที่แตกต่างกัน ดังนั้นข้อมูลที่ผู้อ่านจะได้รับจากบทความนี้จึงเป็นอีกหนึ่งกลุ่มข้อมูลที่ทำให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงโรงเรียนอนุบาลในญี่ปุ่นได้ดีขึ้นค่ะ
By แม่บ้านเมกุโระ3 ) ของใช้ในโรงเรียนที่เราต้องเตรียม 4/4
3 ) ของใช้ในโรงเรียนที่เราต้องเตรียม 4/4
กล่องข้าวจะเริ่มหลังจากเด็ก ๆ เริ่มชินกับโรงเรียนไปสักพักนึงแล้วค่ะ เป็นงานที่แม่บ้านไม่คิดว่าแม่บ้านจะมีความเอนจอยกับการตื่นขึ้นมาทำเบนโตะทุกเช้าด้วย แต่ถ้ามีการจัดการที่ดี มีเทคนิคก็ไม่ยากค่ะ เอาไว้มีเวลาแม่บ้านจะมาแนะนำทริกการทำเบนโตะให้ได้อ่านกันนะคะ
3.15 ) กล่องข้าว (弁当箱)

กล่องข้าวบางโรงเรียนไม่อนุญาตให้ใช้กล่องข้าวที่มีตัวการ์ตูนหรือลวดลายคาแร็คเตอร์นะคะ อย่างเช่น อันปังแมน หรือตัวการ์ตูนจากดิสนี่ย์ เป็นต้น ให้ใช้สีเรียบ ๆ ก็มีค่ะ แต่โรงเรียนของลูกค่อนข้างที่จะปล่อยฟรีสไตล์กับเรื่องพวกนี้ อิแม่เลยจัด Shinkansen ยกชุดเลยจย้าาา กระเป๋าแห้งเลยเด้อ
แม่บ้านมีกล่องข้าว 2 ขนาดค่ะ คือขนาดปรกติและขนาดเล็ก เนื้องจากช่วงแรกลูกยังไม่ชินกับโรงเรียนและการทานข้าวที่โรงเรียน เลยเตรียมกล่องข้าวขนาดเล็กไว้เพราะใส่แล้วจะได้ไม่หกค่ะ (ถ้าเป็นกล่องใหญ่แล้วใส่ของน้อย ๆ เหลือที่เยอะ ๆ ลูกเขย่ากระเป๋าคือเละค่ะ ขนมปังแผ่นบนไปทาง ขนมปังแผ่นล่างไปทาง สงสารค่ะ เลยมีกล่องเล็กไว้อุ่นใจดีค่ะ
ทางโรงเรียนแนะนำการเตรียมข้าวกล่องให้เป็นอาหารที่ทานง่าย เช่น ข้าวปั้น (โอนิกิริ) หรือแซนวิสขนมปัง ไม่แนะนำให้ทำเมนูเส้นอย่างยากิโซบะเพราะทานยากและเลอะเทอะได้ง่ายค่ะ และให้ระวังของบางอย่างที่บูดได้ง่ายด้วยนะคะ แม่บ้านเคยคิดเตรียมข้าวเหนียวให้ลูก เพราะลูกชอบข้าวเหนียวหมูย่างมาก แต่ก็ต้องพับโปรเจ็คเพราะเคยลองแล้วข้าวบูดค่ะ
3.16 ) อุปกรณ์การทาน (カトラリー類)

อุปกรณ์ที่นิยมใส่ไปด้วยมีช้อนและส้อมค่ะ ช่วงแรกแม่บ้านใส่ตะเกียบไปด้วย แต่ครูบอกลูกไม่ค่อยได้ใช้เลยมีแต่ช้อนกับส้อมค่ะ
3.17 ) กล่องใส่ผลไม้ (デザートケース)

เป็นกล่องขนาดเล็กที่แยกไว้สำหรับใส่ผลไม้โดยเฉพาะ มีเพื่อกระตุ้นให้เด็กกินข้าวให้หมด แล้วจึงได้ผลไม้ที่เหมือนเป็นรางวัลแห่งความพยายามจากการกินข้าวจนหมด (หรืออาจะกินไม่หมดแต่เด็กก็ได้ทานจนอื่มแล้ว) ผลไม้นิยมใส่แค่ 2 – 3 ชิ้น ไม่มาก ทางโรงเรียนห้ามใส่ขนมหรือเจลลี่ ใส่ได้เฉพาะผลไม้เท่านั้น
3.18 ) ผ้าเช็ดมือ (ハンドタオル)

ผ้าเช็ดมือที่ต้องเครียมจะต้องเปียกน้ำหมาด ๆ เพื่อให้เด็กใช้เช็ดมือหรือเช็ดปากเวลาทานข้าว ผ้าเช็ดมือของเด็กในญี่ปุ่นจึงนิยมขายคู่กับกล่องใส่ที่มีลวดลายเดียวกันกับกล่องข้าว แต่ถ้าไม่มี สามารถใส่ในถุงซิปล็อคได้ค่ะ
3.19 ) กระเป๋าใส่กล่องข้าว (お弁当袋)

กระเป๋าหูรูดขนาดกลาง มีหูหิ้วสำหรับถือสองข้าง เอาไว้ใส่อุปกรณ์ทั้งหมดตั้งแต่ 3.15 – 3.18 กระเป๋าใส่กล่องข้าวจะใส่ในกระเป๋านักเรียน เมื่อถึงโรงเรียนเด็ก ๆ จะนำกล่องข้าวออกมาจากกระเป๋า และหยิบกล่องใส่ผลไม้ให้คุณครูเพื่อนำไปแช่ตู้เย็น ส่วนที่เหลือจะวางรวมกันไว้เพื่อรอเวลากินข้าวกลางวันร่วมกันกับเพื่อน ๆ
สำหรับคนที่ยังอ่านไม่จุใจ ไปต่อกันที่
การพาลูกเข้าอนุบาลที่ญี่ปุ่น ภาค 3 : เทคนิคติดของใช้ลูก และรีวิวประสบการณ์
การพาลูกเข้าอนุบาลที่ญี่ปุ่น ภาคพิเศษ : การติดต่อระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครอง

กระเป๋าที่แม่บ้านตัดเย็บเองค่ะ ภูมิใจสุด ๆ

ชุดกล่องข้าวของลูกค่ะ อิแม่ทุ่มเท!!!
ผู้เขียน: แม่บ้านเมกุโระ
แม่บ้านกราฟฟิกไทยส่งออกไปญี่ปุ่น ผู้ชื่นชอบอาหาร วิถึชีวิตคนญี่ปุ่น และวัฒนธรรมญี่ปุ่น