All About Japan

รู้จัก "บุไต" ที่จะทำให้สนุกกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น

คอนเสิร์ต รู้ลึกเรื่องญี่ปุ่น
รู้จัก "บุไต" ที่จะทำให้สนุกกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น

บุไตในอดีตมีที่มาจากการแสดงแบบดั้งเดิมดั้งเดิม ปัจจุบันมีการพัฒนาไปอีกรูปแบบ เป็นลักษณะของไลฟ์แอคชั่น (Live action) ที่ได้มีการผสมผสานวัฒนธรรม Pop Culture เข้าไปด้วย ทำให้เป็นที่นิยมในวัยรุ่นและชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก ครั้งนี้จะแนะนำให้รู้จักกับ "บุไต" ซึ่งจะทำให้เพื่อนๆ สนุกไปกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นในอีกรูปแบบหนึ่ง

บุไตคืออะไรกันนะ

บุไตคืออะไรกันนะ

https://pixta.jp/

หลายๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า "บุไต" ผ่านหูกันมาบ้างไม่มากก็น้อยเนื่องจากมีการใช้ทับศัพท์กันทั่วไปในปัจจุบัน

บุไต (Butai) ในภาษาญี่ปุ่นคือคำว่า 舞台 ที่แปลว่าเวที ใช้เรียกการแสดงบนเวทีของประเทศญี่ปุ่นในสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นละครเวที ละครเพลง มิวสิคัล เพอร์ฟอร์แมนซ์ต่างๆ ความน่าสนใจของบุไตหลักๆ อยู่ที่นักแสดงว่าจะสามารถสวมบทบาทตัวละครได้ดีมากน้อยแค่ไหน การร้องเพลงกับการออกท่าทางมีเสน่ห์ดึงดูดผู้ชมได้หรือไม่ อีกทั้งความอลังการของการแต่งหน้าทำผม เครื่องแต่งกายที่สวมใส่ ฉากประกอบ อุปกรณ์ที่ช่วยรังสรรค์การแสดงให้มีสีสันมากขึ้น รวมไปถึงแสงสีเสียงและเอฟเฟ็กต์ต่างๆ และบรรยากาศของการแสดงที่จะให้ความรู้สึกคนละแบบกับฉบับหนังสือการ์ตูนหรืออนิเมะ

ประวัติดั้งเดิมของบุไตในสมัยก่อน

ประวัติดั้งเดิมของบุไตในสมัยก่อน

https://pixta.jp/

ซึ่งการแสดงบนเวทีนี้ก็มีมาตั้งแต่เก่าก่อน โดยเริ่มขึ้นประมาณศตวรรษที่ 15 ด้วยการเต้นรำเล่าเรื่องราวพร้อมการบรรเลงเครื่องดนตรีแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นประกอบการแสดงในชุดเครื่องแต่งกายที่สวยงาม เช่น ละครโนห์ (Noh) และละครคาบุกิ (Kabuki) เป็นต้น

ต่อมาราวช่วงปีแรกๆ ของศตวรรษที่ 20 การแสดงเวทีก็มีวิวัฒนาการไปเป็นละครเวทีแนวใหม่ (Shingeki) ที่แสดงได้ทันสมัยสมจริง ตรงข้ามกับละครคาบุกิและละครโนห์ที่เล่านิทานและเรื่องในจินตนาการ การแสดงช่วงนี้เป็นสไตล์ละครตะวันตกสมัยใหม่ พอเข้ายุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ละครเวทีแนวใหม่ดังกล่าวก็มีการพัฒนาสร้างสรรค์ยิ่งขึ้นไปอีก

การผสมผสานบุไตสมัยใหม่ (2.5D Butai) และวัฒนธรรม Pop Culture

การผสมผสานบุไตสมัยใหม่ (2.5D Butai) และวัฒนธรรม Pop Culture

https://prtimes.jp/main/html/rd/p/000000364.000005738.html

ปัจจุบันบุไตมีการพัฒนาไปอีกรูปแบบ เป็นลักษณะของไลฟ์แอคชั่น (Live action) ที่ได้มีการผสมผสานวัฒนธรรม Pop Culture เข้าไปด้วย ทำให้เป็นที่นิยมในวัยรุ่นและชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก เรียกกันว่า บุไต 2.5D (2.5D Butai)

2.5D นั้นมาจากคำว่า 2.5 Dimension ในภาษาอังกฤษ หรือ 2.5次元 (ni-ten-go-ji-gen) ในภาษาญี่ปุ่น เป็นการนำเอาคาร์แร็กเตอร์ตัวการ์ตูน อนิเมะ และเกม 2 มิติ (2 Dimension) มาผสมรวมกับการแสดงของคนแสดงจริงซึ่งเป็นมนุษย์ 3 มิติ (3 Dimension) กลายเป็น 2.5D นั่นเอง

บุไต 2.5D จับคู่กับอนิเมะกีฬา

บุไต 2.5D จับคู่กับอนิเมะกีฬา

https://moely.jp/article/122373

บุไต 2.5D เรื่องแรกที่ประสบความสำเร็จ ได้รับการตอบรับอย่างดีคือเรื่อง ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส (The Prince of Tennis) ของค่ายการ์ตูนจั๊มป์ (Jump) ที่โด่งดัง เป็นการ์ตูนกีฬาเทนนิสที่เขียนโดยอาจารย์ ทาเคชิ โคโนมิ (Takeshi Konomi) ต่อยอดเป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์มากมาย จนในที่สุดก็นำมาสร้างเป็นบุไตแบบละครเพลงมิวสิคัลในชื่อ The Prince of Tennis Musical หรือเรียกันย่อๆ ว่า เทนิมิว เมื่อปี ค.ศ. 2003 และได้ทำการแสดงอย่างต่อเนื่องมานานกว่า 10 ปี จนมีการผลัดเปลี่ยนนักแสดงหลายรุ่น

สำหรับแนวกีฬายังมีจากเรื่องคุโรโกะ โนะ บาสเก็ต (Butai Kuroko no Basket ULTIMATE-BLAZE) และไฮคิว (Hyper Projection Play “Haikyu!!”) และนอกจากแนวกีฬายอดฮิตก็ยังมีบุไตจากเกมชื่อดังอย่างโทเค็นรัมบุ (Touken Ranbu) และมีแม้กระทั่งบุไตจากการ์ตูนหุ่นยนต์เลื่องชื่ออย่างกันดั้ม 00 (Mobile Suit Gundam 00)

ความโด่งดังที่ฉุดไม่อยู่ของบุไต 2.5D

ความโด่งดังที่ฉุดไม่อยู่ของบุไต 2.5D

https://prtimes.jp/main/html/rd/p/000001267.000003481.html

กระแสความความนิยมบุไต 2.5D เกิดขึ้นเหมือนเป็นฟีเวอร์เลยทีเดียว มีการจัดงาน 2.5D เฟสติวัล (2.5D Festival) ซึ่งเป็นนิทรรศการแสดงชุดเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์การแสดงที่ใช้ในการแสดงละครเวทีของบุไตเรื่องต่างๆ เช่น Haikyu!! the stage , Touken Ranbu stage play และ Musical Touken Ranbu เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโอกาสเจอนักแสดงบุไตจากแต่ละเรื่องอย่างใกล้ชิดอีกด้วย

นับว่า บุไต 2.5D เป็นปรากฏการณ์ที่สั่นสะเทือนวงการการแสดงเวทีไม่น้อย อีกทั้งยังสามารถทำเงินได้มหาศาล ต่อยอดสินค้าให้กับเรื่องนั้นๆ ได้อีกช่องทางหนึ่ง

ผู้เขียน: hikawasa
หลังจากจบป.ตรีก็เริ่มงานในสายล่ามที่บริษัทญี่ปุ่นเช่น Satake Thailand, Hitachi Engineering & Services และรับงานล่ามให้นิตยสาร Custom Car ไปล่ามให้ตามงาน Motor Expo สักพักออกไปเรียนป.โทต่อที่ธรรมศาสตร์ ตอนทำวิทยานิพนธ์ ทาง Japan Foundation ให้ทุนนักศึกษาไปเก็บข้อมูลวิจัย ได้เห็นญี่ปุ่นในหลายมุม ปัจจุบันเป็นนักแปลฟรีแลนซ์ให้ Bongkoch Publishing, Siam Inter Multimedia Publishing, MEB Corporation ที่ทำสื่อดิจิทัลอีบุ๊คชั้นแนวหน้าของไทย และอีกมากมาย ได้โอกาสมาเป็นนักเขียนบทความท่องเที่ยวให้ AAJ ด้วย

know-before-you-go