allabout japan
allabout japan

10จุดชมใบไม้เปลี่ยนสีในโตเกียวที่ใกล้สถานีรถไฟ

10จุดชมใบไม้เปลี่ยนสีในโตเกียวที่ใกล้สถานีรถไฟ
ja.wikipedia.org

รวมที่สวยๆมาให้ 10 ที่ ในโตเกียว ทุกที่ใกล้สถานีรถไฟที่เดินไม่เกิน 10 นาทีก็ถึงแล้ว โตเกียวถึงจะเป็นเมืองแต่ก็สวยไม่แพ้ป่าเขา มีที่ดีๆหลายที่เลยนะ ไปดูกัน

By hikawasa

10 จุดชมใบไม้แดงในโตเกียว

ใบไม้เปลี่ยนสีมีการเรียกชื่อ 3 แบบ สีแดงเรียกว่าโคโย (紅葉) สีเหลืองเรียกว่าโอโย (黄葉) สีชาเรียกว่าคาสึโย (褐葉) ไปเที่ยวชมกันเลยดีกว่า

1 Hibiya Park

1 Hibiya Park

https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Hibiya_Park_in_autumn_2.jpg

สวนฮิบิยะเปิดทำการในปีเมจิที่ 36 (ปี 1903) ทางเดินในสวนดีไซน์เป็นลักษณะรูปตัวอักษร S ที่จะมีต้นแปะก๊วยเรียงรายไปกับถนน เมื่อถึงช่วงใบไม้เปลี่ยนสี เราจะมองเห็นความงดงามอร่ามเรืองของใบแปะก๊วยชัดเจน อีกทั้งความงามของมันยังสะท้อนบนผิวน้ำของบ่อน้ำ Kumoba ซึ่งเป็นบ่อน้ำเก่าแก่อันดับ 3 ของญี่ปุ่น น้ำพุที่เป็นรูปปั้นนกกระเรียนก็ยิ่งเพิ่มความน่าอภิรมย์ของการชมใบไม้เปลี่ยนสีด้วย

เวลาชมใบไม้เปลี่ยนสี
ช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม
การเดินทาง
- ขึ้นรถไฟใต้ดินสาย Hibiya Chiyoda หรือ Mita ลงสถานี Hibiya แล้วเดินต่อไปประมาณ 2 นาที
- ขึ้น JR ลงสถานี Yurakucho แล้วเดินต่อไปประมาณ 8 นาที

2 Meiji Jingu Gaien

2 Meiji Jingu Gaien

https://www.flickr.com/photos/reggiepen/23092922314

Meiji Jingu Gaien เป็นที่รู้จักเพราะใบไม้เปลี่ยนสีเหมือนสีทองอร่ามจนได้ชื่อว่าถนนสีทอง เป็นถนนที่มีต้นแปะก๊วยปลูกเรียงรายสองฟากฝั่งราว 146 ต้นเป็นระยะทางประมาณ 300 เมตร ตรงสุดทางมี Meiji Memorial Picture Gallery ที่โทนสีรับกับใบ้ไม้เปลี่ยนสีเป็นอย่างดี เป็นภาพฉากที่ดูมีมิติสวยงามอย่างบอกไม่ถูก อย่าลืมถ่ายรูปเก็บภาพสวยๆ ไว้เป็นที่ระลึกกันนะ

เวลาชมใบไม้เปลี่ยนสี
ช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม
เทศกาลใบไม้เปลี่ยนสี
16 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม
การเดินทาง
- ขึ้นรถไฟใต้ดินสาย Hanzomon, Ginza, หรือ Oedo ลงสถานี Aoyama-icchome แล้วเดินต่อไปประมาณ 5 นาที
- ขึ้นสาย JR สาย Chuo/Sobu ลงสถานี Shinanomachi แล้วเดินต่อไปประมาณ 10 นาที

3 Koishikawakorakuen

3 Koishikawakorakuen

https://ja.m.wikipedia.org/wiki/%E3%83%95%E3%82%A1%E3%82%A4%E3%83%AB:Koishikawakorakuen-koyo-panorama1.jpg

Koishikawakorakuen เป็นสวนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโตเกียวที่เรียกว่าเป็นโอเอซิสใจกลางเมืองก็ว่าได้ มาที่นี่ก็จะได้ชมความงามของใบไม้เปลี่ยนสี เช่น ใบเมเปิลพันธุ์ Iroha Momiji ใบเปลี่ยนสีของต้นเคยากิหรือเซลโควาญี่ปุ่น ใบเปลี่ยนสีของต้นแปะก๊วย เป็นต้น

เวลาชมใบไม้เปลี่ยนสี
ช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม
เทศกาลใบไม้เปลี่ยนสี
17 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม
การเดินทาง
- ขึ้นรถไฟใต้ดินสาย Tozai, Yuraku-cho หรือ Namboku ลงสถานี Iidabashi แล้วเดินต่อไปประมาณ 8 นาที
- ขึ้นสาย JR Sobu ลงสถานี Iidabashi แล้วเดินต่อไปประมาณ 8 นาที

4 Shakujii Park

4 Shakujii Park

https://www.flickr.com/photos/95962563@N02/10991267384

Shakujii Park เป็นสวนที่ห้อมล้อมไปด้วยธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่าจะตั้งอยู่ในโตเกียว และเป็นสวนขนาดใหญ่อีกแห่งรองๆ จากสวนอุเอโนะ สามารถลงไปนั่งเรือเล่นในสระน้ำ Shakujii แล้วชมความงามของใบไม้เปลี่ยนสีของต้นไม้หลายชนิด เช่นเมเปิล แปะก๊วย ที่สะท้อนบนพื้นผิวน้ำไปด้วยได้อย่างเพลิดเพลิน

และถ้ามีโอกาสแวะมาเที่ยวสวน Shakujii ในฤดูใบไม้ผลิก็จะได้ชมความงามของดอกซากุระที่บานสะพรั่งให้ชื่นใจด้วยนะ

เวลาชมใบไม้เปลี่ยนสี
ช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม
ค่าเช่าเรือ
เรือพาย 60 นาที 700 เยน
เรือถีบ 30 นาที 600 เยน
เรือหงส์ 30 นาที 700 เยน
การเดินทาง
ขึ้นรถไฟสาย Seibu Ikebukuro ลงสถานี Shakujii-koen แล้วเดินต่อไปอีกประมาณ 7 นาที

5 Hikarigaoka Park

5 Hikarigaoka Park

https://commons.wikimedia.org/wiki/File:%E9%AB%98%E5%B0%BE%E5%B1%B1%E3%83%BC%EF%BC%92.JPG

ในสวน Hikarigaoka มีแนวของต้นแปะก๊วยประมาณ 28 ต้นที่ปลูกเรียงรายสองข้างทางความยาวประมาณ 200 เมตรใน Grant Heights ซึ่งเคยเป็นโซนที่พักของครอบครัวทหารอากาศของสหรัฐอเมริกาช่วงปี 1947 - 1973 ก่อนจะกลายเป็นสวน Hikarigaoka พอถึงช่วงใบไม้เปลี่ยนสีก็จะเปลี่ยนเป็นสีทองสวยงามและดูเหมือนเปล่งประกายได้ด้วย เป็นอีกจุดของโตเกียวที่คนนิยมมาเดินดูใบไม้เปลี่ยนสีกัน

เวลาชมใบไม้เปลี่ยนสี
ช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายน
การเดินทาง
ด้วยรถไฟสาย Toei Oedo ลงสถานี Hikarigaoka ทางออก E38 แล้วเดินต่อไปประมาณ 8 นาที

hikawasa

หลังจากจบป.ตรีก็เริ่มงานในสายล่ามที่บริษัทญี่ปุ่นเช่น Satake Thailand, Hitachi Engineering & Services และรับงานล่ามให้นิตยสาร Custom Car ไปล่ามให้ตามงาน Motor Expo สักพักออกไปเรียนป.โทต่อที่ธรรมศาสตร์ ตอนทำวิทยานิพนธ์ ทาง Japan Foundation ให้ทุนนักศึกษาไปเก็บข้อมูลวัจัย ได้เห็นญี่ปุ่นในหลายมุม ปัจจุบันเป็นนักแปลฟรีแลนซ์ให้ Bongkoch Publishing, Siam Inter Multimedia Publishing, MEB Corporation ที่ทำสื่อดิจิทัลอีบุ๊คชั้นแนวหน้าของไทย และอีกมากมาย ได้โอกาสมาเป็นนักเขียนบทความท่องเที่ยวให้ AAJ ด้วย

hikawasaxwanako.blogspot.com