ก้าวสู่เซนไดด้วยหัวใจรำลึก
หลังการประชุมสหประชาชาติระดับโลกว่าด้วยการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติครั้งที่ 3 ที่จัดขึ้นในมีนาคม 2558 เซนไดกลายเป็นแบบอย่างของการป้องกันภัยพิบัติให้กับเมืองต่างๆทั่วโลก เซนไดใช้พลังความสามารถของตนเองเพื่อเป็นผู้นำการป้องกันภัยพิบัติในเขตเมือง เรามาดูกันว่าเมืองแห่งนี้มีความพยายามอย่างไรบ้าง พร้อมกับเดินเที่ยวชมภูมิทัศน์ของเมืองที่สวยงาม
ศูนย์รำลึกเหตุการณ์ 11 มีนาคม
ศูนย์รำลึกเหตุการณ์ 11 มีนาคม ตั้งอยู่ที่ชั้น 7 ของอาคารเซนไดมีเดียเทคที่ทรงเสน่ห์ สถานที่แห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนหวนคิดถึงผลกระทบที่เหตุแผ่นดินไหวดังกล่าวมีต่อชาวเมือง และเพื่อเป็นที่ระลึกว่าการฟื้นตัวจากผลของเหตุแผ่นดินไหวนี้จะใช้เวลายาวนานอีกเท่าใด ทั้งศูนย์ให้ความรู้สึกของการเป็นชุมชนอย่างแท้จริง และคุณยังสามารถชมเอกสารสำคัญต่างๆ ที่ห้องจัดแสดงชั้น 2 และสามารถหยุดพักดื่มน้ำในคาเฟ่ เที่ยวชมร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าโดยนักออกแบบในพื้นที่ และเดินดูพิพิธภัณฑ์ระหว่างที่คุณอยู่ในนั้นด้วย
สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของศูนย์รำลึกแห่งนี้ที่แตกต่างจากสถานที่อื่นก็คือ สถานที่แห่งนี้ได้รับการก่อสร้างขึ้นในฐานะห้องจัดแสดงสื่อผสมไว้ให้ชาวเมือง ประชาชน และผู้เชี่ยวชาญมารวมตัวกันเพื่อเก็บบันทึกกระบวนการฟื้นตัวและให้ข้อมูลแก่ผู้คนเกี่ยวกับแผ่นดินไหวและผลกระทบที่มีต่อชุมชน สื่อหลากหลายรูปแบบถูกนำมาใช้ในที่แห่งนี้และจะได้รับการจัดเก็บไว้ในหอจดหมายเหตุการฟื้นตัวจากภัยพิบัติแผ่นดินไหว ชาวบ้านจะสามารถใช้อุปกรณ์ของตนเองในการเก็บบันทึกข้อมูลและประสบการณ์ส่วนตัวหลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว หากคุณต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้ อย่าลังเลที่จะติดต่อกับพวกเขาผ่านเว็บไซต์ด้านล่าง
- recorder311-e.smt.jp (อังกฤษ)
ศูนย์อนุสรณ์ชุมชน 11 มีนาคมในเซนได
ศูนย์อนุสรณ์ชุมชน 11 มีนาคมในเซนได ได้กลายเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการช่วยเหลือชาวเมืองให้ก้าวผ่านเหตุการณ์แผ่นดินไหว ด้วยการจัดกิจกรรมและการชุมนุมต่างๆ ไว้ให้ผู้คนได้มาพบกัน
เนื่องจากคุณจะได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของเซนไดจากที่นี่ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการเปิดให้เช่าห้องสำหรับผู้ที่ต้องการจัดงานของตนเองเช่นกัน ศูนย์อนุสรณ์แห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของหอนิทรรศการที่จัดแสดงรูปภาพจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและแสดงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบบนแผนที่ให้ผู้คนได้รับชม ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของผู้ที่มาเยี่ยมชมที่จะได้รู้ว่า ผู้คนจากภูมิภาคนั้นต้องประสบอะไรบ้างโดยตรง การที่สามารถเรียนรู้วิถีชีวิตของคนในพื้นในช่วงเวลาแห่งภัยพิบัติได้นั้นเป็นหนึ่งในลักษณะเด่นของศูนย์แห่งนี้เลย และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือการได้รู้ว่าชาวเมืองเดินหน้าต่อไปได้อย่างไร
ศูนย์อนุสรณ์ชุมชนแห่งนี้อยู่ห่างจากสถานี Sendai เพียง 13 นาทีเมื่อเดินทางด้วยรถไฟฟ้าใต้ดินสาย Tozai Line และสามารถพบได้ภายในอาคารของสถานี Arai
ใบปลิวภาษาอังกฤษ
โรงเรียนประถมศึกษาอาราฮามะ
อดีตโรงเรียนประถมศึกษาอาราฮามะตั้งอยู่ในเมืองเซนได ห่างจากชายฝั่งเพียง 700 เมตร (2,296 ฟุต) สถานที่แห่งนี้ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิที่เกิดขึ้นจากเหตุแผ่นดินไหวในปี 2011 ที่มีขนาดความรุนแรงถึง 9.1 ที่จุดศูนย์กลาง โดยมวลน้ำใช้เวลาประมาณ 70 นาทีในการเคลื่อนตัวมาถึงโรงเรียน ความรุนแรงของน้ำที่ไหลบ่าที่ความสูงก็พัดมาถึงชั้นสองของโรงเรียน แต่ยังโชคดีที่ไม่รุนแรงพอที่จะถล่มอาคารทั้งหลังลงมา ในขณะนั้น คณะครู นักเรียน และเหล่าประชาชนต่างเชื่อมั่นในความแข็งแกร่งของโครงสร้างคอนกรีต พวกเขาพากันไปหลบภัยที่หลังคาของโรงเรียนได้สำเร็จ โครงสร้างอาคารที่แข็งแกร่งนั้นเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เหล่าผู้รอดชีวิตยังคงหลบอยู่ที่โรงเรียนได้ โรงเรียนรัฐ (และเอกชนบางแห่ง) ได้รับการก่อสร้างด้วยมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งญี่ปุ่น ทำให้ทนทานต่อแผ่นดินไหวที่รุนแรงและภัยพิบัติอื่นๆ เพื่อไม่เพียงปกป้องนักเรียนเท่านั้น แต่ยังเพื่อเป็นพื้นที่หลบภัยหลังเกิดเหตุการณ์อีกด้วย
คณะครูอาจารย์ที่ตัดสินใจว่าการเชื่อมั่นในความแข็งแกร่งของอาคารนั้นดีกว่าการค้นหาที่หลบภัยที่อื่นต่างได้รับการยกย่องที่สามารถรักษาชีวิตของผู้คนกว่า 300 คนในโรงเรียนได้ ในปัจจุบัน โรงเรียนประถมศึกษาอาราฮามะได้กลายเป็นอนุสรณ์รำลึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิที่เกิดขึ้น โดยทำหน้าที่เป็นเครื่องเตือนใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีต และส่งเสริมให้ทุกคนเรียนรู้เรื่องการป้องกันภัยพิบัติและความปลอดภัยในอนาคต
ใบปลิวภาษาอังกฤษ
การท่องเที่ยวและช้อปปิ้งในเขตท่าเรือเซนได
เขตท่าเรือเซนไดได้กลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้งนับจากควันหลงของเหตุการณ์แผ่นดินไหว และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเซนไดอุมิโน-โมริ กับลานเอาท์เล็ตมิทซึอิ ก็เป็นหลักฐานที่เห็นได้ชัด หากคุณไปเที่ยวสถานที่ต่างๆ รอบๆ เซนไดตามที่กล่าวไว้ในบทความนี้เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับเหตุแผ่นดินไหวในโทโฮคุ เขตท่าเรือแห่งนี้นับเป็นสถานที่ที่ยอดเยี่ยมในการมาดูว่าเมืองแห่งนี้ได้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจได้อย่างไร เราขอแนะนำให้ผู้ที่สนใจ มาซึมซาบข้อมูลความรู้ทั้งหมดเกี่ยวกับความพยายามในการฟื้นตัวของพื้นที่นี้ได้ พร้อมๆกับเดินช้อปปิ้งกับคนในพื้นที่ ก่อนที่จะเดินทางต่อไปชมพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำสมัยใหม่ที่ก่อตั้งในปี 2558
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับชายฝั่งแปซิฟิคของโทโฮคุได้ที่นี่
http://tohoku-pacific-coast.com/th/