All About Japan

รถไฟญี่ปุ่น

การเดินทาง รถไฟ รถไฟใต้ดิน สถานี ข้อมูล ครั้งแรกในญี่ปุ่น เที่ยวด้วยตัวเอง

หน้า1
แผนที่รถไฟญี่ปุ่น
Appค้นหารถไฟญี่ปุ่น
ตารางเวลาของรถไฟญี่ปุ่น
ชั่วโมงเร่งด่วนของรถไฟญี่ปุ่นคือกี่โมง
รถไฟญี่ปุ่นหมดกี่โมง

หน้า2
รถไฟญี่ปุ่นมีกี่ประเภท

หน้า3
รวมพาสของรถไฟญี่ปุ่นเช่น JR Pass
JR Pass และตั๋วอื่นๆที่ใช้ได้เป็นบริเวณกว้าง
ตั๋ว 1-day ในแต่ละเมือง

รถไฟญี่ปุ่นมีกี่ประเภท

หากพูดถึง"ประเภท"ละก็ มันมีได้หลายความหมายเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็นประเภทเครื่องยนต์ (ดีเซล ไฟฟ้า) หรือประเภทการใช้งาน (ขนส่งสินค้า ขนส่งผู้โดยสาร) เป็นต้น แต่เรื่องที่ทุกคนควรรู้อันดับแรกคงหนีไม่พ้นการแบ่งประเภทของรถไฟตามความเร็ว เพราะเป็นตัวแปรสำคัญในการตัดสินว่าราคาจะถูกหรือแพงและใช้เวลามากหรือน้อย

จริงๆแล้ว การแบ่งคลาสความเร็วของรถไฟนั้นมีหลายแบบ และชื่อเรียกก็มักจะต่างกันไปแล้วแต่บริษัทที่ทำการเดินรถด้วย เราจึงจะขอสรุปสั้นๆ ให้เข้าใจกันง่ายๆโดยพูดถึง JR เจอาร์ เป็นหลัก โดยหลักการง่ายๆก็คือ รถยิ่งจอดน้อยสถานีก็จะยิ่งเร็ว เพราะฉะนั้นรถคลาสที่เร็วที่สุดจะจอดเฉพาะสถานที่สำคัญจริงๆเท่านั้น

รถไฟธรรมดา Local

รถไฟธรรมดา Local

รถไฟที่ช้าที่สุด จอดทุกสถานีที่วิ่งผ่าน และขึ้นง่ายที่สุดเพราะโดยปกติแล้วจะไม่มีการกำหนดหมายเลขที่นั่งและไม่ต้องจองล่วงหน้าใดๆทั้งสิ้น แค่เพียงซื้อตั๋วพื้นฐานก็สามารถขึ้นได้ทันที

ราคา:
ถูกที่สุด เก็บเฉพาะค่าตั๋วพื้นฐาน

ความเร็ว:
ช้าที่สุด เพราะต้องจอดทุกสถานีที่วิ่งผ่าน

ที่นั่ง:
ไม่ต้องจอง

รถเร็ว Rapid (หรือ Semi-Express)

รถเร็ว Rapid (หรือ Semi-Express)

เร็วกว่ารถธรรมดาหรือ Local ที่วิ่งบนเส้นทางสายเดียวกัน เมื่อนับจำนวนสถานีที่จอดแล้ว จะจอดน้อยสถานีกว่า เฉพาะสถานีที่มีความสำคัญมากกว่า มีประชากรเยอะกว่า หรือมีรถไฟสายอื่นให้เปลี่ยนเป็นต้น โดยหลักๆแล้วเป็นรถที่เหมือนกับ Local ในแง่ราคาและความง่าย เพราะคิดราคาเท่า Local และขึ้นได้เลยโดยไม่ต้องจอง

ราคา:
ถูกที่สุด เก็บเฉพาะค่าตั๋วพื้นฐานเหมือนกับ Local

ความเร็ว:
เร็วกว่า Local เพราะจอดน้อยป้ายกว่า

ที่นั่ง:
ไม่ต้องจอง

รถด่วน Express

รถด่วน Express

https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/0/0f/JNR_475_tateyama_osaka.jpg

(ในทางทฤษฏี นี่เป็นคลาสที่เร็วขึ้นมาอีกขั้น แต่ปัจจุบัน JR แทบไม่มีรถคลาส Express เหลือแล้ว โดยจะเรียกว่า Limited Express แทน)

สถานีที่จอดให้ขึ้นลงได้น้อยลงไปอีกเมื่อเทียบกับคลาสที่ต่ำกว่าสองคลาสก่อนหน้านี้ โดยรถไฟ Express ของหลายบริษัทรวมถึง JR นั้นจะมีการเริ่มเก็บค่าบริการที่เรียกว่า Express Fee เพิ่มเติมจากค่าตั๋วพื้นฐาน แต่บางบริษัทนั้นก็ไม่ได้เก็บค่าบริการ Express Fee เพิ่มแต่อย่างใด ตัวอย่างเช่นรถไฟระดับ Express ของสาย Tobu Tojo Line เป็นต้น

ราคา:
ค่าตั๋วพื้นฐาน บวกกับบางบริษัทจะเรียกเก็บค่าบริการ Express Fee เพิ่มเติม

ความเร็ว:
เร็วขึ้นกว่า Local และ Semi-Express เพราะจอดน้อยป้ายยิ่งกว่า

ที่นั่ง:
มีทั้งแบบที่ต้องจองและไม่ต้องจอง

รถด่วนพิเศษ Limited Express

รถด่วนพิเศษ Limited Express

http://photozou.jp/photo/show/309100/43467197

รถ Limited Express เป็นคลาสที่เร็วที่สุดที่ไม่นับชินกังเซ็น ส่วนใหญ่จะใช้วิ่งในระยะไกลมากๆระดับระหว่างเมืองหรือระหว่างจังหวัดและจะจอดเฉพาะสถานีที่สำคัญจริงๆเท่านั้น แต่ก็มีหลายคันที่เป็นข้อยกเว้น ไม่ได้วิ่งเพื่อทำความเร็ว แต่ใช้ในการชมวิวหรือท่องเที่ยวเป็นหลัก

โดยนอกจากราคาตั๋วพื้นฐานแล้ว ก็ยังจะเรียกเก็บเงินค่า Limited Express Fee เพิ่มเติมอีกด้วย และสิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้ก็คือรถประเภทนี้แทบทั้งหมดมักจะต้องทำการจองล่วงหน้าและจะกำหนดจำนวนที่นั่งต่อคัน ทำให้คนที่ไม่ได้จองไว้ล่วงหน้าจะอดขึ้นแทบจะแน่นอนหากที่นั่งเต็ม (มีบางคันที่สามารถขึ้นได้ในรูปแบบของ "ตั๋วยืน" แต่ก็น้อยคัน)

ราคา:
ราคาพื้นฐานบวกกับ Limited Express Fee

ความเร็ว:
เร็วที่สุดหากไม่นับชินกังเซ็น

ที่นั่ง:
รถ Limited Express ส่วนใหญ่ต้องจองที่นั่ง แต่ก็มีคันที่สามารถนั่งได้เลยโดยไม่ต้องจองเช่นกัน

ชินคันเซ็น Shinkansen

ชินคันเซ็น Shinkansen

ชินคันเซ็นหรือชินกังเซ็น หรือรถไฟหัวกระสุน ไม่ว่าจะเรียกว่าอะไรก็ตามนี่คือรถคลาสที่เร็วที่สุดในบรรดารถไฟทั้งหมดของญี่ปุ่น ชินกังเซ็นทุกสายบริหารงานโดย JR เท่านั้น เร็วและมีราคาแพงแต่มักจะใช้ร่วมกับ Pass ขึ้นลงฟรีหลายๆตัวได้ เช่น JR Pass เป็นต้น

ชินกังเซ็นยังเป็นหนึ่งในเหตุผลทีใครๆก็ชื่นชมระบบขนส่งมวลชนของประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย ซึ่งไม่ใช่เพราะความเร็วเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องของความตรงต่อเวลาสุดๆอีกด้วย โดยเมื่อปี 2014 ทาง JR ได้รายงานว่าชินกังเซ็นนั้นมีเวลาดีเลย์เฉลี่ยเพียง 54 วินาทีเท่านั้น

สถานีชินกังเซ็นนั้นมีน้อยมากและจะอยู่ค่อนข้างห่างกันพอสมควร บางจังหวัดมีสถานีชินกังเซ็นแค่หนึ่งหรือสองสถานีเท่านั้น นอกจากนี้ ชินกังเซ็นคันที่เร็วที่สุดก็ยังจอดน้อยมากๆ บางคันไม่จอดเลยหลายร้อยกิโล ตัวอย่างเช่น ชินกังเซ็น "โนโซมิ" บนสาย Tokaido มีระยะห่างระหว่างการจอดสองป้ายมากที่สุดที่ระหว่างสถานี Shin-Yokohama ในเมืองโยโกฮาม่า และสถานี Nagoya ในเมืองนาโกย่า โดยวิ่งแบบไม่จอดเลยมากกว่า 300กม.

ราคา:
แพงกว่ารถไฟอื่นๆทุกชนิดในญี่ปุ่น แต่เกือบทุกคันฟรีสำหรับนักท่องเที่ยวที่ใช้ JR Pass

ความเร็ว:
เร็วที่สุด ความเร็วทำการสูงสุดอยู่ที่ 240-320 กม.ต่อชม. (ยกเว้นบางส่วนของ Yamagata Shinkansen Akita Shinkansen ที่มีความเร็วทำการสูงสุดที่ 130กม.ต่อชม.)

ที่นั่ง:
มีทั้งรถที่ต้องจองที่นั่งเท่านั้น และรถที่ไม่ต้องจอง แต่เนื่องจากปกติแล้วชินกังเซ็นใช้เดินทางระยะไกล หากที่นั่งเต็มขึ้นมาก็อาจต้องยืนนานมากๆ จึงแนะนำให้เลือกแบบจองที่นั่งล่วงหน้าอยู่ดี

know-before-you-go