allabout japan
allabout japan

วิธีเช็คว่าถูกทัวร์หลอกหรือเปล่าด้วยสามัญสำนึก

วิธีเช็คว่าถูกทัวร์หลอกหรือเปล่าด้วยสามัญสำนึก

เนื่องจากเมื่อเร็วๆนี้มีเหตุการณ์ต้มตุ๋นครั้งใหญ่เกิดขึ้นในวงการท่องเที่ยวญี่ปุ่น เราจึงขอถามคนไทยในญี่ปุ่นแบบสั้นๆว่าทำยังไงไม่ให้ถูกหลอก

By Ando Natsuki (อันโด นัทสึกิ)
1. มาตรฐานการทำธุรกิจน่าสงสัยหรือเปล่า

1. มาตรฐานการทำธุรกิจน่าสงสัยหรือเปล่า

มาตรฐานในการทำธุรกิจ หรือ Business Practice นั้นเป็นอีกวิธีหนึ่งที่เราไว้ดูง่ายๆ ว่าใครเชื่อถือได้หรือไม่ได้ เพราะว่าบริษัทที่ดีย่อมมาคู่กับระบบการทำงานที่โปร่งใส

ตัวอย่างเช่น ถ้าซื้อตั๋วเครื่องบิน พอเราจ่ายเงินแล้วเราก็ควรจะได้รับสิ่งที่เรียกว่า "ตั๋วเครื่องบิน" ซึ่งสิ่งนี้ใช้เป็นการรับรองว่า
1 คุณได้จ่ายเงินให้กับทางสายการบิน
2 สายการบินได้รับเงินคุณ

ถ้าไม่มีสองข้อนี้ สายการบินก็คงไม่ให้ขึ้นเครื่องบิน เพราะว่าเช่นเดียวกับร้านอาหาร ร้านขายเสื้อผ้า ร้านขายขนม สิ่งที่สายการบินต้องการจากคุณก็คือเงินนั่นเอง การขอรับตั๋วเป็นวิธีการง่ายๆในการตรวจสอบว่า คุณซื้อจากบริษัททัวร์ที่ได้รับตั๋วมาจากสายการบินจริงๆหรือไม่ ซึ่งแน่นอนว่า นี่เป็น "วิธีการทำธุรกิจ" ที่เป็นปกติของโลกใบนี้ หากคุณจองตั๋วเครื่องบิน คุณต้องได้รับตั๋วเครื่องบิน

อาจจะเข้าใจได้ยากไปบ้างเพราะว่าสมัยนี้มีทั้ง"ตั๋วอิเลคทรอนิค" ที่เรียกกันติดปากว่า E-Ticket หรือแม้เแต่การยืนยันขึ้นเครื่องด้วยอีเมลเพียงอย่างเดียว ซึ่งนักต้มตุ๋นอาจจะนำสิ่งเหล่านี้มาหลอกคุณได้ เพราะงั้นถ้าไม่ใช่ตั๋วกระดาษยิ่งต้องระวังเป็นเท่าตัว

แต่ก็ยังมีตั๋วพวก E-Ticket ที่ค่อนข้างเข้าใจยาก หากไม่เคยใช้ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่ามันหน้าตาเป็นยังไง ลองหาดูบนเน็ตว่าหน้าตาของแต่ละสายการบินเป็นยังไงก็พอจะทำได้

โดยปกติแล้ว ตั๋วอิเลคทรอนิคมักจะถูกส่งไปที่อีเมลของเรา โดยเมลที่เชื่อถือได้อย่างเช่น เมลที่มีชื่อสายการบินติดอยู่ หรือเมลจากระบบออกตั๋วอิเลคทรอนิค เช่น Amadeus เป็นต้น ซึ่งถ้าได้เมลมา ก็ลองหาชื่อที่ดูเป็นชื่อองค์กรหรือชื่อบริษัทบนเมลนั้น แล้วลองนำมา Google ดูว่าเป็นบริษัทที่มีอยู่ จริงหรือเปล่า ก็พอจะวางใจได้ในระดับนึง ถ้าเมลที่ส่งมาไม่มีชื่อบริษัท สายการบิน อะไรพวกนี้ เป็นแค่ชื่อคนง่ายๆเช่น ShogunZa007@Hotmail.com (เมลสมมุติ) ละก็ ต้องระวังให้มาก

หรือถ้าไม่ชัวร์จริงๆ ลองเอาเบอร์รับรองการจองที่ได้รับมา แล้วโทรไปถามกับ "คน" เช่นคอลล์เซ็นเตอร์ของสายการบิน แบบนี้ก็จะชัวร์ที่สุด

ระดับความยาก: ถ้าเคยซื้อขายสินค้าด้วยเงินผ่านทางออนไลน์ก็น่าจะไม่มีปัญหา

2. สายการบินก็ต้องกินข้าว

2. สายการบินก็ต้องกินข้าว

เครื่องบินไม่กินข้าว แต่กินน้ำมัน นักบินไม่กินน้ำมัน แต่กินข้าว ทั้งนี้ทั้งข้าวและน้ำมัน ล้วนต้องใช้เงินซื้อ และไม่ใช่เงินน้อยๆเสียด้วย

เช็คราคาตั๋วเครื่องบินที่แท้จริงจากบนเว็บไซต์ของตั๋วทั้งหลายก่อนเลย ด้วยเว็บไซท์ขนาดใหญ่อย่าง Skyscanner ที่รวบรวมตั๋วของหลายๆที่ไว้ด้วยกัน หากลองเช็คดูราคาตั๋วของสายการบินที่บริษัททัวร์บอกว่าเราจะขี้น บวกกับวันที่เราจะไปแล้วละก็ จะสามารถรู้ได้คร่าวๆว่าราคาตั๋ว ณ วันนั้นๆราคาเท่าไหร่

ปกติแล้ว บริษัททัวร์สามารถรับตั๋วจากสายการบินทีละมากๆ ในราคาที่ถูกกว่าปกติ แล้วมาขายต่อเราด้วยราคาที่กำไรเล็กน้อย (แต่ก็ยังถูกกว่าเราจองเอง) เพราะฉะนั้นการที่เราจะได้พบเห็นตั๋วของตัวแทนจำหน่าย ราคาถูกกว่าบนเน็ต ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ แต่ถ้าหากถูกกว่ามากๆ อย่างเช่น สายการบินบริการเต็มรูปแบบที่เราเรียกกันว่า Full Service (อย่างเช่นการบินไทยหรือ Japan Airline) ราคาถูกกว่าสายการบิน Low Cost (อย่างเช่น Air Asia) ในเส้นทางเดียวกันและวันเวลาเดียวกันละก็ มันช่างน่าสงสัยมากๆ

ระดับความยาก: 5 นาทีบนอินเตอร์เน็ต

3. โรงแรมไม่ให้เราพักฟรีๆ

3. โรงแรมไม่ให้เราพักฟรีๆ

นอกจากตั๋วเครื่องบินแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการไปเที่ยวก็คือที่พัก

ราคาทัวร์ที่คุณซื้อมานั้นรวมที่พักหรือยัง หากรวมแล้วก็ลองบวกราคาที่พัก จำนวนคืน ราคาตั๋วเครื่องบินเข้าด้วยกันดู แล้วตรวจสอบว่า ถูกเกินไปหรือไม่ (เช่นเดียวกับตั๋ว ราคาที่พักสามารถตรวจสอบได้บนอินเตอร์เน็ต) วิธีตรวจสอบนั้นเริ่มจากดูว่า แผนการท่องเที่ยวที่บริษัททัวร์นั้นๆ ขายให้เรา เดินทางไปที่เมืองไหน หลังจากนั้นลองตรวจสอบกับเว็บไซท์จัดหาโรงแรม ว่าโรงแรมในเมืองนั้นๆต่อคืนราคาประมาณเท่าไหร่

ตรงนี้ก็ต้องระวังเล็กน้อย เพราะบริษัททัวร์ก็มีช่องทางในการหาห้องพักที่ถูกกว่าบุคคลทั่วไปอย่างเราๆ หาได้บนอินเตอร์เน็ตเหมือนกัน (นี่เป็นวิธีทำธุรกิจหลักๆ ของบริษัททัวร์เลยล่ะ) ไม่ใช่ว่าทัวร์ราคารวมถูกกว่าที่เราสามารถจองเองได้แล้วจะเป็นการต้มตุ๋นเสมอไป

แต่ว่าถ้าถูกมากเกินไปจนดูเหมือนทางบริษัทจะขาดทุนละก็ ช่างน่าสงสัย เอ้ย น่าสงสารจริงๆ ขอให้หยุดซื้อและแจ้งตำรวจเพื่อเข้าตรวจสอบและทำการช่วยเหลือเจ้าของบริษัทต่อไป

ระดับความยาก: 30 นาทีบนเว็บไซท์จองโรงแรม

Ando Natsuki (อันโด นัทสึกิ)

ผมรักเมืองไทยและพูดภาษาไทยได้นะครับ
I love Thailand and I can speak Thai.

My specialization is in traveling unproductively. Like spending 14 hours a day on slowest local trains from northernmost to southernmost of Japan, doing basically nothing and contributing zero to the society. Super fun.
I do know a little about Local Specialty, Train, Transportation, Gadget, Game, and Tech. When you have exhausted your option of better experts try your luck here.

tokyolocalist.com