ทำไมโรงแรมสไตล์ญี่ปุ่นถึงเรียกว่าเรียวกังกันนะ

คำว่า "เรียวกัง" นั้นเป็นที่รู้จักกันดีในความหมายว่า "โรงแรมสไตล์ญี่ปุ่น" ซึ่งหากเราลองมาถอดความคำนี้จริงๆแล้วว่าเป็นมาอย่างไรก็จะทำให้เราเข้าใจได้มากขึ้นว่าเพราะอะไร จึงต้องเรียกว่า "เรียวกัง"
By แป้ง
http://www.gekkoen.co.jp/yuugetu/room/img/room4_img01.jpg
คำว่าเรียวกังในภาษาญี่ปุ่นคือคำว่า 旅館
ประกอบด้วยคันจิ2ตัวคือคำว่า 旅 ( เรียว ) 館 (กัง)
ตัวที่หนึ่ง 旅 ( เรียว )

http://mihon.1-jp.com/kanji/ta/16-90-400/24-2-trip.jpg
คำว่า เรียว เมื่อมีเพียงตัวเดียวจะอ่านว่าทาบิ แปลว่าการเดินทางหรือการท่องเที่ยวซึ่งคันจิตัวนี้มักจะใช้เกี่ยวกับการเดินทางทั้งหมดทั้งสิ้นอาทิ
旅行 ( เรียวโค ) แปลว่าการท่องเที่ยว
旅券 ( เรียวเกน ) แปลว่า หนังสือเดินทาง
旅費 ( เรียวฮิ ) แปลว่าค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
旅客 ( เรียวคะคุ ) แปลว่านักท่องเที่ยว
เราจะสังเกตได้ว่าทุกอย่างที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า เรียว มักจะเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเสมอซึ่งในอดีตนั้นคำว่าเรียวเป็นคำที่ใช้สำหรับการเดินเพื่อไปจ่ายตลาดรวมถึงการเดินบิณฑบาตของพระในอดีตแต่พอมาถึงในยุคที่ความเจริญของทางตะวันตกเริ่มเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นคำว่าเรียวก็ใช้ครอบคลุมไปถึงการเดินทางไปที่ๆห่างไกลหรือการไปเยี่ยมสัมพันธไมตรีที่ต่างแดนเลยทีเดียวไม่ว่าจะเป็นการใช้เรือ( 船旅) ใช้เครื่องบิน(旅客機) ทุกคำล้วนมีส่วนประกอบด้วยคำว่า เรียว เพื่อแสดงให้เห็นว่าหากมีคันจิตัวนี้ต้องเกี่ยวข้องกับการเดินทางอย่างแน่นอน
ตัวที่สอง 館 (กัง)

http://1jp.tokyo/kanji/ka-img/160-2-yakata-kanji.jpg
เป็นการผสมกันของคันจิ2ตัวคือ 食 (โชคุ)แปลว่าการรับประทานอาหาร และ 官(คัง) ที่เป็นคันจิส่วนประกอบของการกล่าวถึงตำแหน่งงานรัฐบาลอาทิ 長官( โชวคัง) แปลว่าผู้บัญชาการ,รัฐมนตรี
เมื่อนำมาผนวกเข้าด้วยกันแล้วจนเป็นคำว่ากัง จะแปลว่าสิ่งก่อสร้างและใช้ลงท้ายในเกือบทุกสถานที่ อาทิ
図書館 (โตโชกัง) แปลว่าห้องสมุด
映画館 (เออิกะกัง) แปลว่าโรงภาพยนตร์
水族館 (ซุยโซคุกัง) แปลว่าพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
美術館 (บิจุสึกัง) แปลว่าหอศิลป์
เมื่อคำว่า การเดินทางและสถานที่มาประกอบกันแล้ว จึงกลายเป็น "ที่พักสำหรับนักเดินทาง"หรือ 旅館 นั่นเอง
แต่เอ๊ะจะเป็นเพียงการผสมคำจริงๆอย่างงั้นหรือ?จึงเป็นที่มาของคำๆนี้เพราะมันแปลว่าที่พักสำหรับนักเดินทางไม่ได้แปลว่าโรงแรมสไตล์ญี่ปุ่นนี่นา? ซึ่งที่มาที่ไปของการผสมของคันจิ2ตัวนี้ก็มีที่มาที่ไปอีกแล้วล่ะ!
ในยุคนารานั้นมีนักแสวงบุญมากมายที่ออกเดินทางเพื่อให้บรรลุถึงธรรมอันยิ่งใหญ่แต่การเดินทางย่อมพบกับความเสี่ยงมากมายทั้งอันตรายจากสัตว์ร้ายรวมถึงเหล่าโจรที่คอยดักปล้นและทำร้าย พระหรือโอโบซังในสมัยนั้นจึงได้ริเริ่มสร้างเรียวกังขึ้นมาเพื่อรองรับให้กับเหล่านักเดินทางแสวงบุญทั้งหลายที่ต้องการที่พักพิง เรียวกังจึงกลายเป็นสถานที่ที่รู้จักกันไปทั่วในหมู่นักเดินทางทั้งหลายและเริ่มที่เป็นที่สนใจของคนทั่วไปไม่ใช่แค่เพียงกลุ่มคนแสวงธรรมแต่เหล่าผู้ครองแคว้นต่างๆก็กลับให้ความสนใจกับที่พักที่เรียกว่าเรียวกังเช่นกันทำให้จากที่มีเพียงไม่กี่ที่ก็เกิดสถานที่แบบเรียวกังขึ้นมามากมายเพื่อให้พอสำหรับการรองรับลูกค้า
จึงทำให้ เรียวกัง ที่พักสำหรับนักเดินทางเป็นโรงแรมสไตล์ญี่ปุ่นในปัจจุบันเพราะถ้าหากอยากจะลองได้พักผ่อนให้ได้กลิ่นไอของประเทศญี่ปุ่นก็ต้องเป็นโรงแรมแนวเรียวกังเท่านั้น
แต่ทว่า โรงแรมทั่วไปที่ตกแต่งหรือสร้างบรรยากาศให้ดูญี่ปุ่นแบบนั้นก็สามารถเป็นเรียวกังได้รึเปล่านะ? หากอยากรู้ว่าจะแยกออกได้อย่างไรระหว่างเรียวกังจริงๆและโรงแรมก็สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับความแตกต่างที่ลิงค์นี้เลย!