allabout japan
allabout japan

เกษตรกรรมยั่งยืนในประเทศญี่ปุ่น

เกษตรกรรมยั่งยืนในประเทศญี่ปุ่น

วิดีโอที่ได้รับรางวัล Week for Sustainability และ Sustainability Award เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าความยั่งยืนเป็นส่วนสำคัญของภาคอุตสาหกรรมการเกษตร ป่าไม้ และการประมงของประเทศญี่ปุ่นว่าเป็นอย่างไร

By ทีมบรรณาธิการ AAJ

กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของญี่ปุ่น หน่วยงานกิจการผู้บริโภค และกระทรวงสิ่งแวดล้อม ได้เปิดตัว "โครงการ SCAFFF AFFF-no-wa" เพื่อตอบสนองต่อวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2030 ของสหประชาชาติ โดยในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ.2022 ได้มีผู้ถือหุ้น 173 รายเข้าร่วมโครงการนี้

โครงการนี้ได้จัดขึ้นโดยผู้หุ้นในภาคเกษตรกรรมยั่งยืน ป่าไม้ การประมง และอาหาร ซึ่งเป็นความร่วมมือในหลากหลายแง่มุม เช่น สิ่งแวดล้อม การลดปริมารณก๊าซคาร์บอน การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การดูแลคุณภาพน้ำและดิน การลดขยะของเสียจากการผลิตอาหาร

สำหรับวิดีโอที่ได้รับรางวัลนั้น สามารถรับชมได้ทั้งรูปแบบภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ

สาเหตุที่เกษตรกรรมของประเทศญี่ปุ่นถึงมีความยั่งยืน

ประเทศญี่ปุ่นมี 4 ฤดูกาล : ดอกไม้บานเมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ แสงแดงที่ส่องประกายเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน ใบไม้เปลี่ยนสีเมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง และปุยหิมะที่ตกลงมาเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ด้วยเหตุนี้ประเทศญี่ปุ่นจึงทำการเกษตรแบบยั่งยืนมาเป็นเวลานาน โดยมีการปรับใช้ชีวิตให้สอดคล้องและใช้ประโยชน์จากฤดูกาลเหล่านี้

"การร่วมมือซึ่งกันและกัน" ยังคงเป็นลักษณะเฉพาะสำหรับการเกษตรของประเทศญี่ปุ่น และไม่เพียงแต่เกษตรกรเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ถือหุ้นต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่นได้ร่วมมือและดูแลซึ่งกันและกันเพื่อรักษา "ทรัพย์สิน" ในระดับภูมิภาคร่วมกัน อาทิ ผลผลิตทางการเกษตร พื้นที่เพาะปลูก ถนนในไร่นา และน้ำเพื่อการเกษตร และในขณะเดียวกันก็มีส่วนช่วยในการบำรุงรักษาภูมิทัศน์ในชนบทที่สวยงามและธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ด้วย

ตัวอย่างที่ 1:ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงจาก Kagoshima Organic Farmer’s Association - (รางวัลความยั่งยืนประจำปี 2021)

ตัวอย่างที่ 1:ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงจาก  Kagoshima Organic Farmer’s Association - (รางวัลความยั่งยืนประจำปี 2021)

บริษัท Kagoshima Organic Farmer's Association ก่อตั้งขึ้นในปี 1984 เป็นหนึ่งในองค์กรที่ใหญ่ที่สุดของเกษตรกรอินทรีย์ในญี่ปุ่น ประกอบด้วยเกษตรกรอินทรีย์มากกว่า 160 รายที่รวมตัวกันเพื่อส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ด้วยวิถีชีวิตและการใช้ชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติและระบบนิเวศ ซึ่งผู้ผลิตทั้งหมดปลูกผักด้วยวิธีที่เหมาะกับสภาพอากาศในท้องถิ่น โดยไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงหรือปุ๋ยเคมี

จากแนวคิดที่ว่ามนุษย์สามารถเติบโตอย่างมีสุขภาพดีได้ด้วยวิธีธรรมชาติเช่นเดียวกับผัก บริษัทนี้จึงเปิดร้านขายผักออร์แกนิกพิเศษถึง 4 แห่ง โดยใช้ชื่อว่า "ชิคิวบาตาเกะ" (Chikyubatake) ในจังหวัดคาโกชิมะ (Kagoshima) ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น

ทางร้านชิคิวบาตาเกะ ไม่เพียงแต่จำหน่ายผักออร์แกนิกเท่านั้น แต่ยังจำหน่ายผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติที่คัดสรรมาอย่างดี เช่น อาหารที่ไม่ใส่สารปรุงแต่ง นอกจากนี้ พวกเขายังเชื่อว่าภารกิจของพวกเขาคือการถ่ายทอดแรงบันดาลใจของผู้ผลิตและผลิตภัณฑ์ที่ดีไปสู่ผู้บริโภค และพวกเขามุ่งเน้นการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารกับผู้ผลิตและขยายเครือข่ายผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย (SNS)

ตัวอย่างที่ 2:ผืนนาและระบบนิเวศทางธรรมชาติกับนกช้อนหอยหงอน (Crested Ibis) - (รางวัลความยั่งยืนประจำปี 2021)

ตัวอย่างที่ 2:ผืนนาและระบบนิเวศทางธรรมชาติกับนกช้อนหอยหงอน (Crested Ibis) - (รางวัลความยั่งยืนประจำปี 2021)

นกช้อนหอยหงอน (Crested Ibis) เป็นสัตว์ที่เรียกได้ว่าเป็นอนุสรณ์ทางธรรมชาติแห่งชาติของญี่ปุ่น ซึ่งครั้งหนึ่งเคยใกล้จะสูญพันธุ์ แต่ได้คืนสู่ธรรมชาติและปรากฎตัวอีกครั้งในป่าเมื่อปี 2008 จากการริเริ่มโครงการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ในปี 1981 บนเกาะซาโดะ (Sado Island) จังหวัดนีงาเตะ (Niigata)

เพื่อให้นกช้อนหอยหงอนสามารถหากินและขยายพันธุ์ในธรรมชาติได้ ชุมชนท้องถิ่นจึงลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีหล่อเลี้ยงระบบนิเวศนาข้าวให้สอดคล้องกับธรรมชาติ เป็นแหล่งอนุบาลปลา แมลง และพืชริมฝั่ง โดยพวกเขาสร้างระบบการรับรองของตนเองที่เรียกว่า "Toki to Kurashi no SatoZukuri" (การอยู่ร่วมกันกับนกช้อนหอยหงอน)

ชุมชนทั้งหมดรวมถึงชาวเกษตรกร ดำเนินการสำรวจระบบนิเวศปีละ 2 ครั้งในพื้นที่ที่ได้รับการรับรอง จากนั้นจะส่งต่อผลลัพธ์ไปยังผู้บริโภคด้วยความมั่นใจ ด้วยเหตุนี้วงจรการดูแลสิ่งแวดล้อมทั่วทั้งชุมชนจึงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยชาวนาจำนวนมากได้เข้าร่วมโครงการนี้ ในขณะเดียวกันทางผู้บริโภคเองก็ตระหนักถึงความสำคัญในกิจกรรมของพวกเขา จึงสนับสนุนโดยการซื้อข้าว ทำให้เป็นการขยายวงจรการพิจารณาสิ่งแวดล้อมระหว่างพื้นที่ชนบทและเขตเมืองนั่นเอง

ตัวอย่างที่ 3:กิจกรรมอนุรักษ์กุ้งขาว อัญมณีแห่งอ่าวโทยามะ - (รางวัลความยั่งยืนประจำปี 2020)

ตัวอย่างที่ 3:กิจกรรมอนุรักษ์กุ้งขาว อัญมณีแห่งอ่าวโทยามะ - (รางวัลความยั่งยืนประจำปี 2020)

ชิโระเอบิ (Shiroebi) เป็นกุ้งชนิดหนึ่งที่จับได้เฉพาะในพื้นที่เล็กๆ รอบอ่าวโทยามะ (Toyama) ในภูมิภาคโฮคุริคุ (Hokuriku) กุ้งขาวที่จับได้สดๆ จะมีสีชมพูอ่อนโปร่งแสงและเป็นประกายเมื่อต้องแสงแดด จึงได้ชื่อว่า "อัญมณีแห่งอ่าวโทยามะ" และเพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรอันมีค่านี้ สมาคมสหกรณ์การประมงชินมินาโตะ (Shinminato Fisheries Cooperative Association) ได้ใช้ระบบรวมในการจับทั้งหมด เพื่อให้ชาวประมงสามารถแบ่งปันรายได้จากการจับกุ้งขาวอย่างเท่าเทียมกัน และยังสามารถป้องกันการแข่งขันตกปลาอีกด้วย

นอกจากนี้ ชาวประมงรุ่นเยาว์ของสมาคมได้ก่อตั้งชมรม "Toyama Bay Shiroebi" ภายใต้แนวคิดการสร้างอนาคตที่รุ่งเรืองด้วยธรรมชาติ และไม่ไม่เพียงแต่ชาวประมงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสหกรณ์ชาวประมง นายหน้า รัฐบาล บริษัทท้องถิ่น ร้านอาหาร ผู้สนับสนุนทั่วไป และองค์กรอื่นๆ ที่ร่วมแรงร่วมใจจัดกิจกรรมเพื่อให้คนรู้จักชื่อของกุ้งขาว และส่งเสริมชุมชนท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างที่ 4:การเพาะเห็ดหอมแห้งที่ใช้ประโยชน์จากสภาพอากาศในท้องถิ่น และทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด - (รางวัลความยั่งยืนประจำปี 2020)

ตัวอย่างที่ 4:การเพาะเห็ดหอมแห้งที่ใช้ประโยชน์จากสภาพอากาศในท้องถิ่น และทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด - (รางวัลความยั่งยืนประจำปี 2020)

ร้านค้าชื่อสุกิโมโตะ (Sugimoto Shoten) ในเมืองทาคาจิโฮะ (Takachiho) จังหวัดมิยาซากิ (Miyazaki) มีความเชี่ยวชาญในด้านการจำหน่ายเห็ดหอมแห้งที่เพาะปลูกบนท่อนไม้จากต้นก่อขี้กวาง ในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของเมืองทาคาจิโฮะ ทางร้านได้ซื้อเห็ดหอมจากต้นก่อขี้กวางซึ่งเติบโตในรอบ 15 ปีจากเกษตรกรที่สนับสนุนวิธีการทำฟาร์มที่มุ่งเน้นการรีไซเคิลและยั่งยืน

นอกจากนี้ สุกิโมโตะยังรับงานตัดไม้ที่ยากสำหรับเกษตรกรสูงอายุอีกด้วย ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวซึ่งตรงกับช่วงเพาะเชื้ออันแสนวุ่นวาย สุกิโมโตะว่าจ้างบุคคลภายนอกในการเพาะเชื้อให้กับสถานสงเคราะห์ในบริเวณใกล้เคียง อีกทั้งยังได้ว่าจ้างการแปรรูปเห็ดหอมแห้งให้เป็นผงอีกด้วย

ด้วยวิธีนี้จะช่วยลดภาระของผู้ผลิตและสร้างโอกาสการจ้างงานใหม่ในชุมชน ได้สร้างวัฏจักรเศรษฐกิจใหม่ด้วยการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่น และสร้างรายได้จากเงินตราต่างประเทศ กล่าวคือ สุกิโมโตะกำลังเผชิญกับความท้าทายในการสร้างสังคมที่ยั่งยืนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง

ตัวอย่างที่ 5:การติดฉลากที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อทางเลือกของผู้บริโภค

ตัวอย่างที่ 5:การติดฉลากที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อทางเลือกของผู้บริโภค

ซันพลาซ่า (Sunplaza) เป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการซูเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่ในภูมิภาคคันไซ (Kansai) จำหน่ายอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหลากหลายประเภท พร้อมให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค หนึ่งในนั้นคือมะเขือเทศจากฟาร์มคาวาบาตะ (Kawabata Farm) ที่ปลูกโดยใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยน้อยที่สุด และไม่ใช้ความร้อนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลแม้ในฤดูหนาวที่หนาวเย็น

ตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทางบริษัทได้ติดฉลากลดก๊าซเรือนกระจกที่ออกโดยกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และการประมงของญี่ปุ่น ซึ่งสามารถสื่อถึงความพยายามของเกษตรกรไปสู่ผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง มะเขือเทศของฟาร์มคาวาบาตะยังได้รับรองจาก Osaka Eco-Farm Products เนื่องจากปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงน้อยกว่าครึ่งหนึ่งอีกด้วย

ที่ห้างซันพลาซ่านั้นให้ความสำคัญกับรสชาติและความยั่งยืนมากกว่ารูปลักษณ์ จึงมีสินค้าและผลิตภัณฑ์คุณภาพเชิงนิเวศอื่นๆ จำหน่าย อาทิ แอปเปิ้ลบางลูกที่มาพร้อมกับใบโดยปราศจากกระบวนการ "เด็ดใบ" เพื่อทำให้พื้นผิวทั้งหมดของแอปเปิ้ลมีสีแดงสม่ำเสมอกัน อีกทั้งยังปลูกในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ เพื่อให้สามารถดึงความหวานที่แท้จริงของแอปเปิ้ลออกมาได้อีกด้วย

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับความพยายามในการดูแลสิ่งแวดล้อมของเกษตรกรสามารถช่วยทำให้ระบบอาหารมีความยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งการส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืนจะเป็นหนึ่งใน "กิจกรรมชุมชนแห่งอนาคต"

ตัวอย่างที่ 6:สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แสนอร่อยเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล - (รางวัลความยั่งยืนประจำปี 2021)

ตัวอย่างที่ 6:สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แสนอร่อยเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล - (รางวัลความยั่งยืนประจำปี 2021)

ในเมืองโกโตะ (Goto) จังหวัดนางาซากิ (Nagasaki) พ่อค้าร้านจำหน่ายปลาในท้องภิ่นและผู้ผลิตอาหารกำลังร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาสาหร่ายทะเล เนื่องจากปลาจำนวนมากได้มากินพืชและสาหร่ายบริเวณชายฝั่งจึงทำให้เกิดปัญหา "iso-yake" หรือปัญหาชายฝั่งแห้งแล้ง พฤติกรรมของปลาที่กินพืชในน่านน้ำบริเวณโดยรอบชายฝั่งเมืองโกโตะนั้นมักจะกินสาหร่ายทะเลเป็นอาหาร

เนื่องจากสาหร่ายทะเลเป็นแหล่งกำเนิดของปลาขนาดเล็ก เมื่อสาหร่ายน้อยลงส่งผลให้จำนวนและชนิดของปลาลดลงด้วย และปลาดังกล่าวไม่ได้มีรสชาติดี อีกทั้งไม่มีราคาในตลาด ดังนั้นแม้ว่าจะจับได้ ก็มักจะถูกโยนทิ้งไปอย่างเสียเปล่า ดังนั้น ทางขายปลาสดในท้องถิ่นอย่าง“Kanazawa Sengyo” และผู้ผลิตอาหาร “Goto no Tsubaki” ได้ใช้เวลาหลายปีในการร่วมมือกันพัฒนา “Goto no hishio”ซึ่งเป็นน้ำปลาที่เกิดจากการหมักปลาที่กินสาหร่ายทะเล

ผลิตภัณฑ์นี้จึงเป็นที่ดึงดูดใจด้วยแนวคิดกับการแก้ปัญหาความรกร้างของชายหาดโดยเปลี่ยนให้เป็นสินค้าที่น่าสนใจ และความร่วมมือที่ยอดเยี่ยม ส่งผลให้อนาคตของภูมิภาคฝั่งเมืองโกโตจะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรปลา พร้อมด้วยชายฝั่งที่เต็มไปด้วยสาหร่ายทะเล

บทสรุป อุตสาหกรรมการเกษตร ป่าไม้ การประมง และอาหารของญี่ปุ่นยังคงพัฒนาความยั่งยืนสำหรับระบบอาหารในอนาคต

อุตสาหกรรมการเกษตร ป่าไม้ การประมง และอาหารของญี่ปุ่นหยั่งรากลึกในธรรมชาติและชุมชนท้องถิ่น ผลงานวิดีโอที่ได้รับรางวัล "Sustainability Award" ใน "โครงการ SCAFFF AFFF no Wa" และการติดฉลากที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นความพยายามในการปรับปรุงความยั่งยืนของอุตสาหกรรมการเกษตร ป่าไม้ การประมง อาหารที่มีรากฐานมาจากธรรมชาติ รวมไปถึงคนท้องถิ่นด้วย

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไม่ใช่อุดมคติที่ห่างไกล แต่เป็นส่วนหนึ่งของทุกทางเลือกที่เราตัดสินใจ ดังนั้น ขอให้เราตระหนักถึงสำคัญและใส่ใจในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เรามาเปลี่ยนวิถีการกินให้ยั่งยืนและส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมโลกกันเถอะ

ทีมบรรณาธิการ AAJ

พวกเรารักญี่ปุ่นมากๆ และรู้เรื่องราวต่างๆมากมายเกี่ยวกับญี่ปุ่น และยังยินดีอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ทุกคนที่ชื่นชอบญี่ปุ่นได้เรียนรู้เกี่ยวกับญี่ปุ่นมากขึ้น

allabout-japan.com