allabout japan
allabout japan

6 รายชื่อยาที่ไปญี่ปุ่นแล้วซื้อเองไม่ได้! รวมศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเวลาเจ็บป่วย

6 รายชื่อยาที่ไปญี่ปุ่นแล้วซื้อเองไม่ได้! รวมศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเวลาเจ็บป่วย

คาดว่าตอนนี้เป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวต่างเตรียมแพ็คกระเป๋าไปท่องเที่ยวญี่ปุ่นกันอยู่ และเพื่อทริปเที่ยวของคุณจะได้ไม่หมดสนุก คราวนี้ Moonlight Yoku จึงมาบอกเล่าเกี่ยวกับ 6 รายชื่อประเภทยากันบ้างดีกว่า พร้อมคำบอกอาการ ยาไหนต้องพกไปบ้างน้า~ ป่วยในญี่ปุ่นแต่พูดญี่ปุ่นไม่ได้ไม่ต้องกลัว เรารวบรวมคำศัพท์ง่าย ๆ มาฝากทุกคนแล้ว!

By Moonlight Yoku
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนบินไปญี่ปุ่น หากคุณพกยามาด้วย

https://pixta.jp/

ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนบินไปญี่ปุ่น หากคุณพกยามาด้วย

1. นับเม็ดยาให้วันและมื้อที่คุณทาน โดยต้องไม่เกินไปไม่เกิน 2 เดือน ส่วนพาสปอร์ตท่องเที่ยวจะไม่เกิน 2 สัปดาห์ ส่วนยาใช้ภายนอกแบบยาหยอดตา ยาดม จะเป็นไม่เกิน 1 เดือน เครื่องสำอางไม่เกิน 24 ชิ้น เท่านั้น!

เช่น สมมติว่าคุณทาน หลังอาหาร เช้า/ก่อนนอน ต่อวันรวม 2 เม็ด คุณไปทั้งหมด 2 สัปดาห์ 2⨯14日= 48 เม็ด

2. ใบรับรองแพทย์แบบสากล(Health Certificate for Import/Export) จากแพทย์ประจำตัวของคุณเองพร้อมลายเซ็นชัดเจน ต้องมีรายละเอียดของอาการป่วยแล้วก็ยาที่ใช้พกมาด้วย พร้อมอายุของใบรับรองแพทย์ฉบับนี้

3. เอกสารการนำเข้ายาภายในประเทศญี่ปุ่น “Yunyu Kakunin-sho”(確認申請書- Import Confirmation Application Form) ซึ่งเป็นหน้าตาเอกสารภาษาอังกฤษคู่ภาษาญี่ปุ่น บุคคลที่ต้องกรอกคือคนที่มีโรคประจำตัวสำคัญที่ต้องพกยาโดยเฉพาะ โดยภายในใบนี้จะถามรายละเอียดว่าตารางบินไป - กลับของคุณวันไหน ทำไมต้องพกมาด้วย มีตัวยาชื่อว่าอะไรบ้าง น้ำหนักกี่กรัม เป็นต้น

4. เอกสารนำเข้ายาบางประเภทที่สุ่มเสี่ยง เรียกได้ว่ายานั้นมีฤทธิ์ต่อระบบประสาท หรืออาจเป็นสารตั้งต้นยาเสพติดได้เพียงแต่ใช้ในการแพทย์ หรือยาผู้ป่วยซึมเศร้าบางรายการ เรียกเอกสารนี้ว่า Application form (Import) for (Narcotics/Stimulants’ Raw Materials) และขาออกประเทศก็อย่าลืมกรอก Application form (EXPORT) for (Narcotics/Stimulants’ Raw Materials)

โดยรายละเอียดคล้ายกับเอกสารการนำเข้ายาภายในประเทศแบบแรกแต่ต้องกรอก 2 รอบเนื่องจากยาที่คุณนำเข้าอยู่ในกลุ่ม Narcotics หรือกลุ่ม Stimulants’ Raw Materials

ส่งเอกสารนำเข้ายาทางไปรษณีย์หรือ Fax ก่อนเดินทางล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ไปที่สำนักงานสาธารณสุขและสวัสดิการของแต่ละภูมิภาค/จังหวัด (Regional Bureau of Health and Welfare) เพื่อให้ทางเขาประสานกับ อีกฉบับคือตัวเอกสารที่คุณถือติดตัวไปญี่ปุ่นเป็นสำเนากรณีเอกสารผ่านแล้ว

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.ncd.mhlw.go.jp/en/application.html#list

6 รายชื่อยาที่ไปญี่ปุ่นแล้วซื้อเองไม่ได้

เวลาเดินทางไปต่างประเทศทั้งที สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ "ยา" ใช่ไหมคะ เผื่อเวลาเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินในต่างประเทศเราจะได้รับมือถูก ว่าแต่รายชื่อยาที่ไม่สามารถซื้อเองได้ในญี่ปุ่นมีอะไรบ้าง เราไปชมพร้อมๆ กันเลยดีกว่าค่ะ

1. ยาคุมกำเนิด(避妊薬 | OC & EC)

https://pixta.jp/

1. ยาคุมกำเนิด(避妊薬 | OC & EC)

ทริปฮันนีมูนญี่ปุ่นของคู่รักบางคู่อาจไม่ได้พร้อมมีบุตรเสมอไป การพกยาคุมฉุกเฉินจากไทยไปด้วยจึงเป็นสิ่งสำคัญนะคะ แม้ว่าที่ญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่เปิดรับเกี่ยวกับความรู้เพศศึกษา มีถุงยางอนามัยขายทั่วไป แต่สำหรับผู้หญิงแล้วนั้น ยาคุมกำเนิดแบบรับประทานกลับไม่ได้หาซื้อกันง่ายนะ ที่เป็นแบบนั้นเพราะเขาห่วงเรื่องสุขภาพของคนในประเทศค่ะ ขึ้นชื่อว่ายาก็ต้องมีให้ทั้งคุณและโทษแก่ร่างกายหากรับปริมาณเกินไปสำหรับร่างกาย

ฉะนั้นคุณควรพกยาคุมกำเนิดทั้งแบบปกติและแบบฉุกเฉินไปร่วมทริปด้วยค่ะ เพราะไม่เช่นนั้นคุณต้องเดินไปหาแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกที่ญี่ปุ่น เพื่อสั่งจ่ายยาคุมกำเนิดโดยเฉพาะ ซึ่งราคาแพงมากเกือบหมื่นถึงแสนเยนเลย แล้วการเข้าไปหาแพทย์นั้นไม่ได้ง่ายเลย

・ยาคุมกำเนิดทั่วไป ภาษาญี่ปุ่นอ่านว่า เคย์โกะ ฮินิน ยะคุ(Keiko Hinin Yaku:経口避妊薬 ;OC)
・ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ภาษาญี่ปุ่นอ่านว่า คินคิว ฮินิน พิรุ(Kenkyu Hinin Piru:緊急避妊ピル;EC)


อย่างยา OC หรือยาคุมทั่วไปถือเป็นยาออกฤทธิ์ต่ำ มีแบบ 21 เม็ด และ 28 เม็ดจำหน่ายค่ะ แต่ว่าก็ต้องสั่งจ่ายยาโดยแพทย์ ซึ่งยาคุมแบบนี้มีข้อดีตรงที่คุณสามารถเลือกพบแพทย์ออนไลน์ทำการรักษาแบบ Conference online(オンライン診療)หรือ โทรศัพท์ เพื่อให้สั่งจ่ายยาอย่างถูกต้องได้นะคะ ราคาเฉพาะตัวยาราว 3,000 - 4,000 เยนค่ะ

แต่ถ้าสมมติว่าเกิดพลาดพลั้งมีกิจกรรมรักเลยเถิดไปแล้ว ทันทีภายใน 24 ชม. คุณจะต้องไปที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลแผนกสูตินารีเวช(産婦人科学)หรือไปคลินิกผู้หญิง(Ladies Clinic:レディスクリニック)เพื่อรับยาคุมฉุกเฉินทานทันที “ไม่ใช่!คลินิกตรวจสุขภาพทั่วไป(Health Clinic :診療所/婦人科)” เพื่อทานยาคุมฉุกเฉิน โดยตัวยานั้นแบ่งการออกฤทธิ์ไวหลายระดับมากค่ะ แล้วแน่นอนว่าราคาต่างกันมากด้วยค่ะ

※ นอกจากนี้ยาคุมในญี่ปุ่นยังไม่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปอีกด้วยนะคะ

https://youtu.be/DCpDbQ8l9CI

1.1 ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับยาคุมฉุกเฉินในญี่ปุ่น

ยาคุมฉุกเฉินมีอีกชื่อนึงว่า อาฟุตาพิรุ(アフターピル ❘ 緊急避妊ピル)แบ่งออกเป็นหลายชนิด มีฤทธิ์ในการชะลอการตกไข่ ดังนี้

1. ยาแยปปุโฮ :(ヤッペ法 - 24時間以内) แบบ 24 ชม. หลังมีกิจกรรม 2 เม็ด เป็นยาแบบดั้งเดิม แบบนี้ออกฤทธิ์ได้ปานกลางค่ะ โอกาสป้องกัน 77%

2. ยาแยปปุโฮ : (ヤッペ法 - 24~72時間以内)แบบ 24.ชม. และ 72 ชม. หลังมีกิจกรรม 1 เม็ด เป็นยาที่มีการปรับสูตรใหม่ แต่แบบนี้ก็ออกฤทธิ์ได้ปานกลางค่ะ จะดีกว่ายาแยปปุโฮแบบ 2 เม็ดตรงที่คุณเองไม่ต้องลืมว่าต้องทานยาและความเข้มข้นของยาจะเพิ่มขึ้น โอกาสป้องกัน 77% เช่นกัน แต่ถ้าทานช้าแบบ 72 ชม. โอกาสการป้องกันคือ 57% ราคายาประมาณ 8,000 เยนขึ้นไป

3. อะฟุตาพิวรุ 72 ชม. (นิยมใช้ในญี่ปุ่น) หลังมีกิจกรรม 1-4 เม็ด มี 2 ยี่ห้อหลักที่ญี่ปุ่น ได้แก่ (Levonorgestrel : レボノルゲストレル錠) และ(Norlevo : ノルレボ) ซึ่งที่ญี่ปุ่นจะเรียกตามชื่อยี่ห้อนั้น ถ้าคุณหมอแจ้งว่าเป็นยาแบบ 72 ชม. ก็เป็นตัวนี้เลย แต่จำนวนเม็ดหรือมิลลิกรรมอาจจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและระยะเวลาที่ไปหาคุณหมอนะ

สำคัญที่สุดเลยคือผู้เข้ารับการขอยาจากแพทย์มักจะมาไม่ทัน 72 ชม. ทั้งที่โอกาสป้องกัน 85~95% แล้วแต่ยี่ห้อ ส่วนผลข้างเคียงสูงพอสมควรเลย ราคายาประมาณ 8,000 เยนขึ้นไป

4. เอะร่าหรือ Uripristal(ウリプリスタール;エラ) 120 ชั่วโมง หลังมีกิจกรรม 1 เม็ด ยาชนิดนี้เข้มข้นและอันตราย ออกฤทธิ์ในช่วง 5 วันของการมีเพศสัมพันธ์ โอกาสป้องกันได้ถึง 99.5% แต่สำหรับใครที่ทานไปแล้วหลัง 3 สัปดาห์ฤทธิ์ยาไม่แสดงอาการต้องปรึกษาแพทย์นะ เพราะคุณอาจเป็นเปอร์เซ็นต์ที่เหลือที่อาจตั้งครรภ์ ราคายาประมาณ 10,000 - 16,000 เยนโดยประมาณ

⊛โอกาสหรือประสิทธิภาพการป้องกันตั้งครรภ์ของยาที่ทานขึ้นอยู่กับ ช่วงระยะเวลาที่ทานยาหลังมีเพศสัมพันธ์ อาการข้างเคียง (เวียนหัว คลื่นไส้ ท้องเสีย อาเจียน มีเลือดออกทางช่องคลอดแบบประจำเดือน) และรูปแบบหรือยี่ห้อของยา

อีกวิธีที่ใช้ป้องกันคือการใส่ห่วงอนามัยฉุกเฉิน(子宮内避妊具;IUD) แบบ 120 ชั่วโมงหลังมีกิจกรรม ซึ่งไปทำการเปลี่ยนแปลงภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกซึ่งแบบนี้คนญี่ปุ่นไม่ค่อยใส่ค่ะเพราะเป็นวิธีเก่าแล้วก็ยุ่งยากเมื่อพบแพทย์

อีกเหตุผลคือ เพราะว่ามีโอกาสที่จะแพ้วัสดุที่เป็นห่วงอนามัยได้ง่ายเพราะที่ญี่ปุ่นจะใช้แบบห่วงอนามัยหุ้มทองแดงทำให้มีประจุไปรบกวนตัวอ่อนหรืออสุจิ แต่โอกาสป้องกันได้ถึง 99.8% เลยนะ

2. ยาโรคเฉพาะทางประเภทเรื้อรัง หรือโรคที่อาจมีอาการอันตรายเกิดขึ้นตลอด

https://pixta.jp/

2. ยาโรคเฉพาะทางประเภทเรื้อรัง หรือโรคที่อาจมีอาการอันตรายเกิดขึ้นตลอด

ยาโรคเฉพาะทางที่ญี่ปุ่นมักจะผายมือไปให้ตรวจที่โรงพยาบาลค่ะ ไม่นิยมตรวจในคลินิกตรวจสุขภาพทั่วไปนะ กลุ่มผู้ป่วยที่ควรพกยาโรคเฉพาะทางประเภทเรื้อรังหรือฉุกเฉินมาด้วย ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอัลไซเมอร์ โรคไต โรคลมชัก เป็นต้น

รายชื่อยาเฉพาะทางโรคเรื้อรังที่ “ห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่นและไม่อนุญาตให้นำเข้าแม้มีเอกสารใบรับรองแพทย์” ตามกฏของญี่ปุ่น
ได้แก่ Atenolol, Etiracetam, Dihydroergotoxine Mesilate, Somatropin (Genetical Recombination), Vasopressin Tannate, Desmopressin Acetate Hydrate, Nadolol, Nicergoline, Nimodipine, Vinpocetine, Piracetam, Furosemide, Bromocriptine Mesilate, Propranolol Hydrochloride และ Levetiracetam

ซึ่งหากผู้ป่วยคนใดใช้ยาดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวเพื่อเปลี่ยนตัวยาหากมีความจำเป็นต้องเข้าญี่ปุ่นค่ะ! ส่วนตัวยาเฉพาะทางอื่น ๆ ให้ออกเป็นเอกสารที่มีใบรับรองแพทย์แบบสากล(Health Certificate)ประกอบการเดินทางด้วย

หากยาชนิดนั้นสำคัญมากแล้วมีผลต่อสุขภาพและการเดินทาง ให้นับจำนวนเม็ดให้ตรงมื้อที่รับประทานยา แน่นอนว่าหากเราไปท่องเที่ยวต้องมีปริมาณไม่เกิน 2 สัปดาห์ แล้วกรอกเอกสารที่ชื่อว่า Yunyu Kakunin-sho(確認申請書- Import Confirmation Application Form) ซึ่งเป็นหน้าตาเอกสารภาษาอังกฤษคู่ภาษาญี่ปุ่น

แล้วหากตัวยาบางตัวมีส่วนที่เป็นออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเป็นยาที่อยู่ในการสารเสพติด (Narcotics) หรือสารตั้งต้น Stimulants’ Raw Materials แนะนำให้กรอกเอกสารนำเข้ายาบางประเภทที่สุ่มเสี่ยงที่เป็น Application form (Import/Export)for Narcotics/Stimulants’ Raw Materials มาด้วยค่ะ

อ้างอิงจาก :
https://www.mhlw.go.jp/english/policy/health-medical/pharmaceuticals/01.html
https://www.mhlw.go.jp/english/policy/health-medical/pharmaceuticals/dl/Ingredients_name.pdf

3. ยาลดไข้ หรือยาแก้ปวดลดไข้

https://pixta.jp/

3. ยาลดไข้ หรือยาแก้ปวดลดไข้

ยาที่ดูเหมือนจะหาซื้อทานง่าย แต่ที่จริงแล้วต้องสั่งจ่ายผ่านแพทย์วุ่นวายเลย ดังนั้น หากเราจะพกยาไปเอง ยาพาราเซตามอลปลอดภัยที่สุด หรือแนะนำเป็น Ibuprofen และ Ponstan ให้พกจากไทยไปด้วยค่ะ

แต่ห้ามนำไทลินอน หรือยาแอสไพรินเข้าไปญี่ปุ่นนะ เพราะที่ญี่ปุ่นถือว่ายากลุ่มนี้อันตราย ต้องทำการนัดพบแพทย์โรงพยาบาลหรือคลินิกตรวจโรคทั่วไปก่อนเข้าพบนะ เมื่อได้รับการพบแพทย์แล้วสั่งจ่ายยาถึงสามารถนำใบสั่งยาไปให้เภสัชกรที่ญี่ปุ่นได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง:ยาต้องห้ามบินและสารเสพติดที่ห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่น

4. ยาผู้ป่วยกลุ่มซึมเศร้า และจิตเวช

https://pixta.jp/

4. ยาผู้ป่วยกลุ่มซึมเศร้า และจิตเวช

ยาผู้ป่วยทางจิตเวชและซึมเศร้าหากพกมาที่ญี่ปุ่นควรต้องเขียนใบสรุปรายชื่อยาพกติดตัวขณะเข้าประเทศด้วย เพราะเนื่องจากบางตัวยาเป็นยาต้องห้ามของญี่ปุ่นซึ่งมีสารที่จัดกลุ่มเป็นยาเสพติด และยากลุ่มจิตเวชเป็นยาควบคุมแล้วอันตราย จึงต้องเขียนใบชี้แจงรายการที่พกมาด้วยค่ะ Application form (Import/Export) for Narcotics/Stimulants’ Raw Materials

ยาในกลุ่มซึมเศร้าและจิตเวชที่ญี่ปุ่นจัดกลุ่มเป็น Psychotropics;P ซึ่งต้องกรอกในเอกสารดังกล่าวเช่นกัน ต้องกรอก “Yakkan shoumei” (薬監証明,The Medicine Import Certificate)

รายชื่อยาเฉพาะทางกลุ่มซึมเศร้าและจิตเวช ที่ “ห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่นและไม่อนุญาตให้นำเข้าแม้มีเอกสารใบรับรองแพทย์” ได้แก่ Atomoxetine, Adrafinil, Aniracetam และ Tianeptine สาเหตุที่ต้องแจ้งให้ทราบถึงรายชื่อยาอย่างชัดเจนเพื่อที่ทุกคนจะได้ตรวจเช็คแล้วเตรียมพร้อมสำหรับการเดินทางไปญี่ปุ่นค่ะ

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.ncd.mhlw.go.jp/en/application.html#psychotropics

5.ยาเม็ดแก้แพ้ และ ยาพ่นแก้หอบหืด

https://pixta.jp/

5.ยาเม็ดแก้แพ้ และ ยาพ่นแก้หอบหืด

ต้องพกยาแก้แพ้อากาศที่ไม่มีส่วนผสมของยากลุ่มซูโดแอลฟรีดีน(Pseudoephredine)อย่างยาคลอเฟนิลามีนเม็ดสีเหลือง(Chlorpheniramine: C.P.M.)สามารถพกไปประเทศญี่ปุ่นได้ เหตุเพราะยาแก้แพ้กลุ่มซูโดแอลฟรีดีน ผิดกฏหมายค่ะ! อาทิ เซทเทค (CETTEC - Cetirizine) พกไปไม่ได้นะอันนี้ก็อยู่ในกลุ่มซูโดแอลฟรีดีน ยาแก้ไอกบางตัวก็เช่นกัน

สำหรับยาพ่นแก้หอมหืดแล้วควรพกติดตัวไปญี่ปุ่นด้วยอย่างยิ่ง เพราะที่ญี่ปุ่นอุปกรณ์พวกนี้จะแพงแล้วก็ซื้อได้ยาก การนำอุปกรณ์พ่นยาแก้หอบหืดสามารถนำไปได้นะคะ แต่อย่าลืมเอกสารของอุปกรณ์ที่เป็นภาษาอังกฤษ พร้อมเช็กกับสายการบินด้วยว่า สามารถอุปกรณ์ยี่ห้อหรือรูปแบบที่ตนเองนำไปขึ้นเครื่องได้หรือไม่

6. ยาที่เป็นอาหารเสริมชนิดเม็ด

https://pixta.jp/

6. ยาที่เป็นอาหารเสริมชนิดเม็ด

ที่ญี่ปุ่นแม้จะเป็นประเทศที่มีอาหารเสริมมากมาย ถึงขั้นที่คนไทยซื้อกลับมาเป็นของฝากกันเลยก็มี แต่ว่าไม่ใช่ทุกอาหารเสริมที่จะขายได้นะ อาหารเสริมก็นับเป็นยารูปแบบนึงที่ต้องควบคุมปริมาณการทาน แล้วอาหารเสริมบางตัวที่ใช้คู่กับยาผู้ป่วยก็ “ห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่นและไม่อนุญาตให้นำเข้าแม้มีเอกสารใบรับรองแพทย์”

ได้แก่ Oxiracetam, Dehydroepiandrosterone(DHEA), Nefiracetam, Vinpocetine และ Pregnenolone เนื่องจากเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือมีผลข้างเคียงที่สูงต่อระบบสมอง การเผาผลาญในร่างกาย หรือความดันและระบบไหลเวียนเลือด

แล้วถ้าไม่สบายที่ญี่ปุ่นล่ะ? ไปพบแพทย์ควรพูดยังไงนะ

https://pixta.jp/

แล้วถ้าไม่สบายที่ญี่ปุ่นล่ะ? ไปพบแพทย์ควรพูดยังไงนะ

คาดว่าหลายคนน่าจะเคยมีปัญหาหรือประสบการณ์ป่วยในต่างประเทศระหว่างการเดินทางกันมาบ้าง วันนี้เราก็มียกตัวอย่างประโยคง่าย ๆ สื่อสารที่ญี่ปุ่นเมื่อไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลกัน มีอะไรบ้างไปดูกันเลยดีกว่า

เวลาไปพบแพทย์ หรือต้องการซื้อยา ส่วนใหญ่มักจะโดนแพทย์ถามว่า
"ป่วยเป็นอะไรครับ/คะ" = Doushimashitaka?(どうしましたか。)

เราสามารถอธิบายอาการของเราได้ดังต่อไปนี้
・ป่วย/ไม่สบาย = Byouki ga Aru(病気がある)
・แพ้อาหาร = Shokumotsu Arerugi ga Aru(食物アレルギーがある)
・มีไข้ = Netsu ga Aru(熱がある)

・ปวดหัว = Atama ga Itai(頭が痛い)
・ปวดท้อง = Onaga ga Itai(お腹が痛い)
・เจ็บคอ = Nodo ga Itai(のどが痛い)
・ปวดท้องประจำเดือน = Seiritsuu ga Itai(生理痛が痛い)

・น้ำมูกไหล = Hanamizu ka Deru( 鼻水が出る)
・ไอ = Seki ga Deru(咳が出る)
・จาม = Kuchami ga Deru(くしゃみが出る)

・เวียนหัว = Memai ga Suru(眩暈がする)
・คลื่นไส้อาเจียน = Hakike ga Suru(吐き気がする)

・ท้องเสียต่อเนื่อง = Geri ga Tsuduku(下痢が続く)
・เลือดออกที่__ = ~ni Chi ga Deru(~に血が出る)
※ ช่องว่างใส่เป็นตำแหน่งร่างกายหรือใช้มือชี้เอาก็ได้นะ

・หายใจไม่สะดวก/หายใจไม่อิ่ม = Kokyukonnan ni Naru(呼吸困難になる)

บางครั้งอาจจะโดนถามว่า "แพ้ยาไหม?" = Kusuri ni Arerugi- ga Arimasuka?(薬にアレルギーがありますか。)เราสามารถตอบเป็น "ใช่" Hai, __Desu(はい、ชื่อยา です)หรือ "ไม่มี" Iie, Arimasen. (いいえ、ありません。)
※ หากพูดชื่อยาอาจจะยากเกินไป แนะนำว่าเปิดรูปให้ดูอาจสื่อสารง่ายมากขึ้น

บทส่งท้าย

เป็นอย่างไรบ้างคะกับบทความนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับนักท่องเที่ยวที่กำลังเตรียมตัวเดินทางไปญี่ปุ่นกันนะคะ สำหรับใครที่คิดว่าประโยคภาษาญี่ปุ่นที่เรานำมาฝากในครั้งนี้ยากเกินไป ออกเสียงไม่ถูก จำไม่ได้ เพื่อน ๆ ก็สามารถเปิดหน้าเว็บไซต์บทความนี้ชี้ให้คุณหมอดูแทนก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะสื่อสารได้ง่ายขึ้นค่ะ

นอกจากนี้เรายังมีบทความยาต้องห้ามที่พกไปญี่ปุ่นไม่ได้มาฝากกันอีกด้วย อย่าลืมเข้าไปศึกษาข้อมูลกันนะคะ เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเดินทางแล้วหวังว่าทริปเที่ยวญี่ปุ่นของคุณครั้งนี้จะปลอดภัย สุขภาพแข็งแรงนะคะ ไว้เจอกันใหม่บทความถัดไปค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง:ยาต้องห้ามบินและสารเสพติดที่ห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่น

Moonlight Yoku

นักเขียนสกิลเป็ด [ISFP-T]​ ความฝันที่จะเที่ยวญี่ปุ่นเป็นแรงผลักดันให้ชอบแล้วเรียนจบเอกบริหารญี่ปุ่นในปัจจุบัน

ชอบอาหารญี่ปุ่นมากๆ ฉะนั้นจะสนใจที่กินที่เที่ยวเป็นพิเศษ Hokkaido Lover❤️