All About Japan

สร้างอนาคตที่ดีกว่า! สัปดาห์แห่งความยั่งยืน

PR
สร้างอนาคตที่ดีกว่า! สัปดาห์แห่งความยั่งยืน

การพัฒนาที่ยั่งยืนได้กลายเป็นหัวข้อที่พูดถึงกันเป็นประจำในข่าวต่างๆ ซึ่งหลายๆ ประเทศทั่วโลกก็พยายามให้หลายๆ ฝ่ายทั้งภาครัฐและประชาชนให้พัฒนาแบบยั่งยืนสำเร็จ ในญี่ปุ่นเองก็มีทั้งองค์กรและบริษัทจำนวนมากที่ให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น โดยเรียนรู้ว่าเราเองก็สามารถสร้างความแตกต่างได้ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม

การขับเคลื่อนไปกับบริษัทที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

การขับเคลื่อนไปกับบริษัทที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ในปี ค.ศ.2015 ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (UN) ได้รับรองวาระ 2030 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยวาระนี้ประกอบไปด้วยหัวข้อซึ่งมีเป้าหมายคือการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่เชื่อมโยงถึงกัน 17 รายการ ซึ่งครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และรัฐ โดยสมาชิกขององค์กรได้ตกลงที่จะทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้เพื่อสันติภาพ โลก และผู้คนทั่วโลก

ประเทศญี่ปุ่นมีองค์กรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อการเกษตร ป่าไม้ ประมงและอาหาร 2023 (the Sustainable Consortium 2030 – for Agriculture, Forestry, Fisheries and Food หรือ SCAFFF2030) เรียกว่าโครงการ Afunowa ในภาษาญี่ปุ่น โดยโครงการนี้มีเป้าหมายที่จะบรรลุ SDGs ของสหประชาชาติภายในปี ค.ศ.2030 ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง สำนักงานกิจการผู้บริโภค และกระทรวงสิ่งแวดล้อม จึงกล่าวได้ว่าเป็นโครงการที่เป็นพันธมิตรกับองค์กรและบริษัทที่อุทิศตนเพื่ออนาคตอันยั่งยืนอย่างแท้จริง

นอกจากเรื่องความคิดริเริ่มที่ตั้งใจจะดำเนินการตลอดทั้งปีแล้ว ทางองค์กร SCAFFF2030 ยังเป็นเจ้าภาพการจัดงานสัปดาห์พิเศษเพื่อสร้างความตระหนัก และสนับสนุนให้ผู้คนทำงานเพื่ออนาคต โดยให้ทุกคนรวมถึงโลกของเราได้ผลประโยชน์กันถ้วนหน้าทุกฝ่าย

สัปดาห์แห่งความยั่งยืน : แบ่งปันแนวคิด ส่งเสริมการดำเนินโครงการ

สัปดาห์แห่งความยั่งยืน : แบ่งปันแนวคิด ส่งเสริมการดำเนินโครงการ

งานสัปดาห์แห่งความยั่งยืนนั้นจัดขึ้นทุกปีเพื่อให้ตรงกับการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในนิวยอร์ก สำหรับผลิตภัณฑ์และกิจกรรมที่เข้าร่วมมีโลโก้ SCAFFF2030 ซึ่งต้องเป็นไปตามเกณฑ์ความยั่งยืนอย่างน้อยหนึ่งข้อที่หลีกเลี่ยงการส่งผลกระทบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ดิน น้ำ ของเสียและการสูญเสีย รวมไปถึงความเป็นมิตรและความยืนหยุ่นต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับโครงการเพื่อความยั่งยืนที่ดำเนินการโดยองค์กร SCAFFF2030 สามารถดูเพิ่มเติมได้จากหน้าเว็บไซต์ของสมาชิกแต่ละคน และสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับงานสัปดาห์แห่งความยั่งยืนได้จากแฮชแท็กต่างๆ เช่น #Sustaina-Week #SustainabilityWeek และ #SustainabilityAction บนช่องทางโซเชียลมีเดีย

การเฉลิมฉลองสัปดาห์แห่งความยั่งยืน

การเฉลิมฉลองสัปดาห์แห่งความยั่งยืน

ลองมองหากิจกรรมและผลิตภัณฑ์ของบริษัทหรือองค์กรต่างๆ กว่า 126 แห่งซึ่งเป็นสมาชิก SCAFFF2030 และลองมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนดูไหมคะ โดยสมาชิกนั้นก็มาจากอุตสากรรมที่หลากหลาย ตั้งแต่อุตสาหกรรมด้านการเกษตรไปจนถึงอุตสาหรรมด้านข้อมูลและการสื่อสาร แสดงให้เห็นว่าโครงการนี้มีความหมายสำหรับทุกคนอย่างแท้จริง

สมาชิกของ SCAFFF2030 จัดงานระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์โดยมุ่งเน้นที่ SDGs และกิจกรรต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทั้งแบบตัวต่อตัวและแบบออนไลน์ นอกจากนี้ สมาชิกยังสามารถจัดแสดงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตด้วยวิธีที่ยั่งยืน และให้คำแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับชีวิตของเรา

จุดสนใจในการริเริ่มของสมาชิก

จุดสนใจในการริเริ่มของสมาชิก

กิจกรรมที่ดำเนินการโดยสมาชิก SCAFFF2030 มีหลากหลายรูปแบบ และนี่คือตัวอย่างเพียงบางส่วนเกี่ยวกับวิธีการทำงานของสมาชิกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ความหลากหลายทางชีวภาพ

ยิ่งห่วงโซ่อุปทานยาวขึ้นเท่าใด พื้นที่การผลิตจะมองเห็นได้น้อยลงเท่านั้น เพื่อส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน จำเป็นต้องให้ข้อมูลผู้บริโภคเกี่ยวกับวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ของตน

ในช่วงงานสัปดาห์แห่งความยั่งยืน ซูเปอร์มาร์เก็ตกลุ่ม Ito-Yokado ได้ถ่ายทอดความคิดและกระบวนการผลิตผ่านแบรนด์ "Food with a Face" ซึ่งเป็นแบรนด์ดั้งเดิมของ Ito-Yokado มีการดีไซน์แพ็คเกจด้วยการวาดใบหน้าของผู้ผลิตในรูปแบบการ์ตูนมังงะ และ QR Code ที่เชื่อมโยงไปยังข้อมูลที่ผู้ผลิตกำลังดำเนินการอยู่ เช่น การลดสารเคมีในพื้นที่การเกษตร

อีกทั้ง ผลิตภัณฑ์แบรนด์ Food with a Face บางชนิดยังได้รับการรับรองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น J-GAP ซึ่งคำนึงถึงความปลอดภัยของอาหารและสิ่งแวดล้อม และ MEL ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทางทะเลที่จับได้และเพาะปลูกโดยคำนึงถึงทรัพยากรทางทะเลและระบบนิเวศ เป็นต้น คุณสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์เหล่านั้นได้โดยช่องทางออนไลน์

ไม่น่าแปลกใจที่กระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่ถือว่ามีความยั่งยืน ที่จริงแล้วสมาชิก SCAFFF2030 จากหลายบริษัทมีการสร้างผลิตภัณฑ์แบบด้วยกระบวนการดั้งเดิม อาทิ บริษัท "Maruya Hatcho Miso" ซึ่งผลิตนัตโตะอันหอมหวานเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับอาหารญี่ปุ่น โดยนอกจากการใช้น้ำบาดาลจากแหล่งในท้องถิ่นสำหรับผลิตภัณฑ์แล้ว ทาง Maruya Hatcho Miso ยังใช้ถั่วเหลืองออร์แกนิกสายพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกในท้องถิ่นอีกด้วย

"ซาซาเอะต้มจากอิเสะ-ชิมะ" ของบริษัท K&K ได้ประเมินคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสนับสนุนวิธีการทำประมงแบบดั้งเดิมเรียกว่า อะมะ (Ama) ซึ่งเป็นวิถีดั้งเดิมของชาวประมงหญิงที่ดำน้ำหาหอย และใช้เปลือกหอยซาซาเอะที่จับได้เป็นวัตถุดิบสำหรับการบรรจุกระป๋อง จึงได้ผลิตภัณฑ์หอยซาซาเอะที่มีคุณภาพสูงและปลอดภัยส่งตรงถึงผู้บริโภค

การทำประมงอะมะเป็นวิธีการประมงแบบชุมชนดั้งเดิม โดยชาวประมงหญิงจะดำน้ำใกล้ชายฝั่งเพื่อจับหอย มีต้นกำเนิดมานานกว่า 2,000 ปี จึงเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมอาหารที่หายากอีกอย่างหนึ่งในโลก เมื่อชาวประมงจับหอยซาซาเอะได้จะตรวจสอบขนาดทีละตัว หากเจอเปลือกหอยขนาดเล็กจะปล่อยลงในมหาสมุทร เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลได้อย่างมั่นคง

ความร่วมมือและความยืดหยุ่น

เพื่อให้เด็กทุกคนเติบโตขึ้นอย่างมีสุขภาพที่ดี สังคมต้องให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนเด็กที่ขาดแคลนทั่วทั้งสังคม ซึ่งสหกรณ์ในเมืองอิซุมิ โอซาก้านั้นได้รับกำลังส่งเสริมและการสนับสนุนจากชุมชนผ่านโรงอาหารสำหรับเด็กและธนาคารอาหารชุมชน เช่น สหกรณ์จัดหาอาหารที่เก็บรวบรวมผ่านโปรแกรม "Food Drive" เพื่อบริจาคให้กับโรงอาหารสำหรับเด็กและสภาสวัสดิการสังคมเพื่อ ส่งเสริมการสนับสนุนการเรียนรู้

นอกจากนี้ สหกรณ์ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับกิจกรรมต่างๆ โดยให้การสนับสนุนการเรียนรู้และอาหารแก่เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ และสนับสนุนการสร้างสถานที่เพื่อสุขภาพสำหรับเด็กและคนหนุ่มสาวในชุมชน

ผลิตภัณฑ์ Nichirei Foods ของบริษัท Nichirei Foods นั้นได้ลดทั้งของเสียและความหิวโหยผ่านการร่วมมือกับ Second Harvest Japan ซึ่งเป็นธนาคารอาหารแห่งแรกของญี่ปุ่น โดยแทนที่ทางบริษัทจะทิ้งอาหารแช่แข็งที่ขายตามร้านค้าไม่ได้เนื่องจากบรรจุภัณฑ์เสียหาย บริษัทได้บริจาคอาหารให้กับ Second Harvest Japan เพื่อให้ผู้มีรายได้จำกัดได้เข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพและดีต่อสุขภาพ

นอกจากการบริจาคผลิตภัณฑ์อาหารจาก Nichirei Foods แล้ว บริษัทยังยังจัดส่งอาหารโดยตรงไปยังโรงงานที่เชื่อมต่อกับ Second Harvest โดยใช้เครือข่ายการขนส่งในตู้เย็นของ Nichirei Logistics Group อีกด้วย

ความพยายามในการพัฒนาอย่างยั่งยืนในต่างประเทศของ Kirin Holdings ผู้ผลิตชาดำอันดับหนึ่งของญี่ปุ่นอย่าง Kirin Afternoon Tea ได้ช่วยเหลือหุ้นส่วนฟาร์มชาในประเทศศรีลังกาจึงได้รับการรับรอง Rainforest Alliance ซึ่งหมายความว่าส่วนผสมได้รับการผลิตอย่างยั่งยืนและเคารพในสิทธิมนุษยชน

นอกจากนี้ S&B Foods ซึ่งมีเครื่องเทศที่ผ่านการรับรองจากการค้าที่เป็นธรรมมากกว่า 60 รายการ ยังเป็นกำลังเสริมช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับความพยายามพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งทาง S&B Foods มีความมุ่งมั่นในการจัดหาส่วนผสมที่ผลิตขึ้นโดยคำนึงถึงความยั่งยืนและสิทธิมนุษยชน และยังรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับผู้แพ้และฮาลาลในกลุ่มผลิตภัณฑ์อีกด้วยเช่นกัน

เชิญชวนสู่วิถีชีวิตอันยั่งยืน

เชิญชวนสู่วิถีชีวิตอันยั่งยืน

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัส ทำให้เราต้องราต้องเผชิญกับความจริงที่ว่าสิ่งที่เรามองข้ามไปนั้นไม่ได้รับการการันตีเสมอไป ดังนั้น เราจึงได้ตระหนักว่าเราต้องมีการขับเคลื่อนเพื่อปกป้องสิ่งที่เราเห็นคุณค่า

ญี่ปุ่นได้กำหนดกลยุทธ์สำหรับระบบอาหารที่ยั่งยืน (MeaDRI) ซึ่งมีเป้าหมายที่จะใช้นวัตกรรมเพื่อให้ได้ทั้งผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและความยั่งยืนเพื่อรองรับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก

ในปีนี้ การประชุมสุดยอดระบบอาหารแห่งสหประชาชาติจะมีขึ้นในวันที่ 23 กันยายน ถึงเวลาแล้วที่โลกจะต้องคิดทบทวนความยั่งยืนของระบบอาหาร บริษัทที่เกี่ยวข้องกับระบบอาหารทั่วโลกต้องรับผิดชอบต่อการใช้ทุนธรรมชาติอย่างยั่งยืนของตนเอง หากพวกเขาต้องการเติบโตอย่างยั่งยืน นี่เป็นความจริงสำหรับพวกเราทุกคนที่อาศัยอยู่บนโลก

อย่าละเลยวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาใหญ่สำหรับทั่วโลก แล้วลองหันมาเผชิญหน้ากัน หยิบยกประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อโลกเฉกเช่นเหมือนปัญหาของตัวเราเอง และดำเนินการตามมาตรการที่จะนำไปสู่วัฏจักรของการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนกันเถอะค่ะ

know-before-you-go